แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการ อสม.รู้ตน รวมพลังชุมชน ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี 2568ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)…ม.4…ต.บุดี
1.นางอามีเนาะสะแลแมประธาน
2.นางรอปีซะตาสา รองประธาน
3.นางอาลีเมาะมะดีเย๊าะ เลขานุการ
4.นางสาวมารีเยาะเจะหลง กรรมการ
5.นางสาวรอฮีดาหะมะ กรรมการ
ตำบลบุดี
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายการพัฒนาด้านสุขภาพเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตที่ดี เกิดความเท่าเทียมทั่วถึงในการรับบริการสุขภาพของประชาชนทุกคน โดยให้ประชาชนได้รับรู้สถานะของตนเองและเข้าถึงการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และได้กำหนดให้ดำเนินการพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัยให้มีความครอบคลุมในมิติทางด้านสุขภาพทั้ง 4 มิติ คือ มิติด้านการป้องกันโรคการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ เน้นให้เกิดการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักด้านสุขภาพ จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินให้เป็นพฤติกรรมที่ลดเสี่ยงต่อการเกิดโรค และลดโรคที่เป็นแล้วให้เป็นน้อยลง หรือหายเป็นปกติ โดยเฉพาะ 3อ คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และ 2ส คือ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา เป็นการ “ปรับก่อนป่วย” เพราะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยเสี่ยงร่วมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตการส่งเสริมสุขภาพจึงเน้นให้ “ประชาชนสุขภาพดี เริ่มต้นที่สร้างนำซ่อม” โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้เป็นพลังชุมชนที่สำคัญในการเป็นผู้นำ เป็นต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยมีบทบาทที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะด้านสุขภาพให้แก่คนในชุมชน โดยมีเป้าหมายในการเป็น “คู่หูสุขภาพ” ร่วมรู้สถานะสุขภาพ ร่วมปรับพฤติกรรม ต้านภัยโรคเบาหวานแลความดันโลหิตสูง
เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของ อสม. ชมรม อสม.หมู่ที่ 4 ต.บุดี จึงได้จัดทำโครงการ อสม.รู้ตน รวมพลังชุมชน ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี 2568 โดย อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกันดำเนินการตรวจสุขภาพประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และดำเนินกิจกรรมลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพมีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ในหลายปีที่ผ่านมา อสม.หมู่ที่ 4 ตำบลบุดี ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี ดำเนินการคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสุงให้แก่ประชากร 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ตำบลบุดีเป็นประจำทุกปีเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วย และในปัจจุบันนี้ ชมรมอสม.ของหมู่บ้านมีอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น คือ เครื่องวัดความดันโลหิต ซึ่งมีไม่เพียงพอเนื่องจากเครื่องมือที่มีอยู่เดิมเกิดการชำรุด เสียหายจากอายุการใช้งานหลายปี อีกทั้งจำนวน อสม.ที่เพิ่มขึ้นและครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การดำเนินงานดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ไม่มีความคล่องตัว
ดังนั้น ชมรม อสม.หมู่ที่ 4 บ้านบือแนเพื่อรณรงค์คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ขึ้นโดยการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อใช้ในการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นให้กับประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านบือแน ตำบลบุดี รวมทั้งใช้ในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/อัมพฤกษ์ และ โรคอื่นๆ ในพื้นที่และจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ห่างไกลโรคเรื้อรัง ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 01/02/2025
กำหนดเสร็จ : 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ได้รับการคัดกรองตรวจสุขภาพประจำปี
2.ประชาชนได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน