กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพลังชาวบลูกาบารูห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

ชมรมอสม. หมู่ 9 บ้านบาลูกาบารู

1.นายมะรอนิง บินอุมัรประธานกรรมการ
2. นาย ฮาดาฟี มะดงแช รองประธาน
3. นางมารีบะ เบ็งสะมะบุดีเลขานุการ
4.นางสาวสปีเยาะ สะมะแอเจ๊ะมะกรรมการ
5. นางสุไบดะ ศรีตุลาการกรรมการ

ตำบลบุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในระดับประเทศและระดับโลก เนื่องจากลักษณะของโรคที่เป็นระยะยาวและมักไม่แสดงอาการในช่วงแรก ทำให้หลายคนไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ พฤติกรรมเสี่ยง เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ชุมชนบลูกาบารู ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากรหลากหลายกลุ่มวัย จำเป็นต้องมีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพตนเองอย่างยั่งยืน เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมีสุขภาพที่ดี ลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
โครงการนี้จึงมุ่งเน้นส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพ ผ่านกิจกรรมที่สร้างความตระหนักรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงของโรค และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ดีขึ้น เช่น การส่งเสริมการออกกำลังกาย การให้ความรู้ด้านโภชนาการ และการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เพื่อสร้างวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพและสร้างความเข้มแข็งในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพทุกเดือน

ร้อยละ 80 ของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพ

0.00
2 ข้อที่ 2 ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับความรู้เรื่องความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคอ้วน

ร้อยละ 80 ของประชาชนอายุ 15 ปีได้รับความรู้ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคอ้วน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ติดตามตรวจสุขภาพประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ทุกเดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามตรวจสุขภาพประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ทุกเดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดดิจิตอล จำนวน 2 เครื่อง x 2,500 บาท                                  เป็นเงิน 5,000 บาท
  2. ค่าเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว จำนวน 2 เครื่อง x 1,500 บาท
    เป็นเงิน 3,000 บาท
    3.ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล จำนวน 2 เครื่อง x 1,000 บาท    เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 75 บาท จำนวน 50 คน
                                               เป็นเงิน 3,750 บาท 2.ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท  จำนวน 50 คน
                                               เป็นเงิน 3,500 บาท 3.ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 1 คน
                                               เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ชุมชนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
2.ชุมชนมีสุขภาพดีขึ้นโดยรวม อัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนลดลง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคอ้วน
3.สมาชิกในชุมชนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน
4.เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนในกิจกรรมต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความสามัคคี ความร่วมมือ และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน


>