2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย เพราะ เป็นหนึ่งในห้าของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดปัจจุบันผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2563มีความชุกร้อยละ 9.5 และมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่มากกว่า300000(สามแสน) รายต่อปีคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2588 จะมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 783 ล้านคน ด้วยเหตุที่จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่ทรัพยากรด้านสาธารณสุข ตลอด ถึงเวลาในการให้บริการ มีอย่างจำกัด ทำให้ประสิทธิภาพในการให้บริการไม่เต็มที่ ผู้ป่วยขาดทักษะด้านการจัดการตนเอง ควบคุมโรคได้ไม่ถูกต้อง ทำให้กลุ่มป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน จนถึงพิการหรือเสียชีวิตเพิ่มขึ้นการจัดระบบการดูแลให้เกิดประสิทธิภาพ มุ่งหวัง “ เบาหวานสงบ “เบาหวานหายได้เป็นหมุดหมายการทำงานใหม่ที่ผุดขึ้นมา เพื่อสร้างความหวัง และกำลังใจให้กับประชาชน กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และผู้ให้บริการ ในการดูแลสุขภาพเพื่อลดการเกิดโรคร่วมจากการใช้ยาปริมาณมาก รวมถึงการควบคุมภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง อันนำไปสู่ความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรกระบวนการนี้ต้องสร้างความเข้าใจ ในรายที่ตั้งใจ โดยให้ฝึกทักษะ เรียนรู้ทฤษฎีพื้นฐาน อันจะนำไปสู่การฝึกปฏิบัติ ควบคู่กับวิชาการ เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของ กลุ่มป่วยเบาหวานได้ ให้สามารถ มีความรู้ ดูแลตนเอง เพื่อการอยู่กับเบาหวานได้ โดยลดการใช้ยา กระบวน การลดระดับน้ำตาลแบบนี้ เรียกการรักษาว่า “DiabetesRemission” หรือโรคเบาหวานสู่ระยะสงบ จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนทุ่งตำเสาให้เข้าใจและสามารถควบคุมโรคเบาหวานที่ป่วยอยู่ให้ดีขึ้น ลดการสูญเสีย และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา มีผู้ป่วยเบาหวานในความรับผิดชอบ ปี 2568 จำนวน 323 คนผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่รับยาที่ รพ.สต.ทุ่งตำเสาและ รับยาต่อเนื่อง ที่ รพศ.หญรพ.มอ. โรงพยาบาลเอกชน คลินิกแพทย์เฉพาะทางสำหรับคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา จัดให้มีบริการเดือนละ 1 ครั้ง ถ้าพบผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนจะส่งต่อ พบแพทย์ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่(ศูนย์แพทย์ควนลัง) ข้อมูลจาก HDC จังหวัดสงขลา ในปี 2567 มีผู้ป่วยหวานจำนวน 306 คนคุมน้ำตาลได้ดี มีค่าHbA1c ไม่เกิน 7จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 37.15 และผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่า HbA1c มากกว่าร้อยละ7 จำนวน 192 คน คิดเป็นร้อยละ 62.75 ในปี 2568 มีผู้ป่วยหวานจำนวน 323 คุมน้ำตาลได้ดี มีค่าHbA1c ไม่เกิน 7จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 18.58 และผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่า HbA1c มากกว่าร้อยละ7 จำนวน 263 คน คิดเป็นร้อยละ 81.42 ในปี 2568 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสาได้ดำเนินการ คัดกรองค้นหากลุ่มสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงเพื่อลดป่วย ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ผู้มีค่า HbA1c มากกว่า 7 ได้ดำเนินการให้เข้าร่วมโครงการ DM Remission ลดยาลดโรคในผู้ป่วยเบาหวาน มีผู้สมัครใจ จำนวน 30ราย เพื่อให้เกิดความรู้ เสริมสร้างทักษะ ในการดูแลตนเองเพื่อให้โรคเบาหวานอยู่เข้าสู่ระยะสงบ(DiabetesRemission) เกิดกระบวนการเรียนรู้ ด้วยความสมัครใจ เช่น การสร้างความมั่นใจในการเจาะเลือดด้วยตัวเองเพื่อติดตามระดับน้ำตาล มีการจัดการเรียน็ในห้องเรียน โดยทีมวิทยากรและมีการติดตามภาวะสุขภาพผ่าน การสื่อสารทางไลท์ ทุกวันทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการให้เกิดแรงจูงใจ ว่าหมอที่ดีที่สุดในการรักษาสุขภาพ คือ ตัวของเขาเอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสาจึงได้จัดทำโครงการ NCDs RemissionClinic ลดยาลดโรคในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นมา
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/02/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ทักษะในการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเอง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลได้ถูกต้อง
2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ในด้านโภชนาการเพื่อควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือด
3.ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการ สามารถปรับลดยาลงได้
4.ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน