แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
ส่งเสริมโภชนาการหญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์ ป้องกันภาวะซีดตำบลตุยง ปี 68ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง
โรงพยาบาลหนองจิก
ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นประชากรกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง เนื่องจากมีการสูญเสียธาตุเหล็กไปกับประจำเดือน ประมาณ 12.5-25 มิลลิกรัมต่อเดือน นอกจากนี้พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ร่างการได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอเมื่อหญิงวัยเจริญพันธ์ตั้งครรภ์ทำให้เกิดปัญหาปัญหาโลหิตจางตามมา ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ หมายถึง ภาวะที่ สตรีตั้งครรภ์มีระดับความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ต่ำกว่า 11 กรัมต่อเดซิลิตร หรือมีระดับ ฮีมาโตคริต (hematocrit) ต่ำกว่าร้อยละ 33 (World Health Organization [WHO], 2001) โดยสาเหตุที่พบ บ่อยในสตรีตั้งครรภ์ ได้แก่ การขาดสารอาหาร มีการ ทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ มีการสูญเสียเลือด และมีการติดเชื้อ (Goonewardene, Shehata, & Hamad, 2012) สำหรับประเทศไทยกำหนด ให้มีอัตราของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 10 เนื่องจากภาวะโลหิตจางส่งผลต่อสุขภาพสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิดภาวะโลหิตจางส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของ สตรีตั้งครรภ์ คือ ทำให้เหนื่อยง่าย หน้ามืด เวียนศีรษะ เป็นลม ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ความทนต่อการสูญเสีย เลือดในระหว่างคลอดลดลง รวมทั้งอาจเกิดภาวะ แทรกซ้อนหลังคลอดได้ง่าย เช่น เกิดการติดเชื้อ เป็น นอกจากนี้ยังทำให้การหายของแผลผ่าตัดหรือแผลฝีเย็บ ช้า และในรายที่มีความเข้มข้นของฮีโมโกลบินต่ำกว่า 6 กรัมต่อเดซิลิตร อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ สำหรับ ผลกระทบของภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ที่มีต่อทารก ในครรภ์และทารกแรกเกิด คือมีผลทำให้ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกำหนด และทารกแรก เกิดน้ำหนักตัวน้อย อีกทั้งความเชื่อ วัฒนธรรม ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยากต่อการส่งเสริมการคุมกำเนิด ทำให้อัตราการตั้งครรภ์สูง ส่งผลให้อัตราการตั้งครรภ์เสี่ยงในพื้นที่สูงเช่นกัน สภาพปัญหา เมื่อทบทวนผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กตำบลตุยงตั้งแต่ ปี 2563 - 2567 พบว่าอัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่ ๑ ดังนี้ 25.33, 21.58, 22.66, 24.14 และ 16.47 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ ปี 2567 พบว่า เกิดจากสาเหตุ
1. ฝากครรภ์ช้าหลัง 12 สัปดาห์
2. ผล OF หรือ DCIP : Positive เป็นพาหนะ E.trait
3. พบพยาธิ T.trichiura
4. ไม่ทราบสาเหตุ และพฤติกรรมการรับประทานอาหารตามบริบทที่ไม่ถูกต้อง
จะเห็นได้ว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่1มีแนวโน้มลดลง แต่ยังสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ฝ่ายการบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมจึงเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 01/03/2025
กำหนดเสร็จ : 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในหญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะซีดในตำบลตุยงกับอสมและเครือข่ายแม่และเด็ก
กิจกรรมที่ 2 คัดกรองภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธ์ที่อยู่กินกับสามีที่มีอายุ 15-44 ปี จำนวน 100 ราย พร้อมจ่ายยาเสริมธาตุเหล็กรายที่มีภาวะซีด
กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมด้านโภชนาการและการรับประทานยาให้กับหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดและครอบครัวและเครือข่ายแม่และเด็ก จำนวน 50 คน
กิจกรรมที่ 4 ติดตามหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด
กิจกรรมที่ 5 ประชุมสรุปการดำเนินโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในหญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะซีดในตำบลตุยงกับอสมและเครือข่ายแม่และเด็ก
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 15-40 ปี ที่อยู่กินกับสามีได้รับการคัดกรองและหากมีภาวะซีดได้รับการรักษา ไม่น้อยกว่า ๘๐
2. อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่ ๑ และครั้งที่ 3 ไม่เกินร้อยละ ๑๐ หรือลดลง จากปี 2567ร้อยละ1
3. หญิงตั้งครรภ์และผู้ดูแลในครอบครัว รวมทั้งอสม.มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์