กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็ก 0-5 ปี โภชนาการดี พัฒนาการสมวัย ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี

ตำบลบุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดูแลสุขภาพและสุขอนามัยในเด็กแรกเกิดถึงช่วงอายุ 5 ปีเป็นช่วงระยะเวลาที่เด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมากเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการสร้างรากฐานชีวิตและจิตใจของมนุษย์ นอกจากร่างกายจะเจริญเติบโตอย่างเร็วแล้วสมองของเด็กก็เจริญเติบโตสูงสุดในช่วงวัยนี้ด้วย ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับเด็กในการส่งเสริมการเจริญเติบโต ทางด้านร่างกาย เช่น รูปร่างน้ำหนัก ส่วนสูง และปล่อยให้พัฒนาการของเด็กเกิดขึ้นเองตามวัยแต่ในปัจจุบันความรู้จากการศึกษาและความตื่นตัวในวิทยาการสมัยใหม่ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กมากขึ้น ซึ่งนอกจากปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก เช่นพันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อแม่แล้ว สิ่งแวดล้อมกับการเลี้ยงดูโดยการสร้างเสริมกิจกรรมกับเด็กผ่านการเล่นเป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ผู้ปกครองควรทำในชีวิตประจำวันของเด็กรวมถึงให้การติดตามพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมตามวัยเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองจะละเลยไม่ได้สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างมีความสุขและมีคุณภาพต่อไป
จากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็ก 0 – 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดีพบเด็กที่สงสัยมีพัฒนาการล่าช้าร้อยละ 28.56พบพัฒนาการล่าช้าร้อยละ 2.13เป็นพัฒนาการทางด้านร่างกาย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็กแรกเกิด – 5 ปี กว่าร้อยละ 60 ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมิน ส่งเสริม และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ ในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดีได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก แรกกเกิด -5 ปี ในชุมชนบ้านบุดีขึ้นโดยบูรณาการร่วมกับชุมชนด้วยการพัฒนาเครื่องมือให้อาสาสมัครสาธารณสุขช่วยเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุเพื่อช่วยค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติด้านต่างๆ เร็วขึ้นรุนแรงจะเพิ่มขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับการประเมินโภชนาการและกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

ร้อยละ 85 เด็ก 0 – 5 ปี  มีพัฒนาการสมวัย

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตามและกระตุ้นโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  1. ร้อยละ 90 เด็ก 0 – 5 ปี ที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตามและส่งเสริมพัฒนาการ ได้รับการส่งต่อรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติ
0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อพัฒนาศักยภาพพ่อแม่หรือผู้ปกครองให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมและประเมินพัฒนาการเด็ก
  1. ร้อยละ 80 ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0 – 5 ปี
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/02/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องพัฒนาการแก่ผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี จำนวน 40 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องพัฒนาการแก่ผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี จำนวน 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รุ่นที่ 1 กลุ่มผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 40 คน x 35 บาท x 2 มื้อ
เป็นเงิน 2,800  บาท - ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน  40 คน  x  75  บาท  x  1  มื้อ
  เป็นเงิน   3,000    บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บ. x 5 ชม. x 1 รุ่น
เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8800.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 40 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รุ่นที่ 2 กลุ่มผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 40 คน x 35 บาท x 2 มื้อ
เป็นเงิน 2,800  บาท - ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน  40 คน  x  75  บาท  x  1  มื้อ
  เป็นเงิน   3,000    บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บ. x 5 ชม. x 1 รุ่น  เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8800.00

กิจกรรมที่ 3 จัดซื้ออุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0- 5 ปี (จัดที่มุมส่งเสริมพัฒนาการ)

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้ออุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0- 5 ปี (จัดที่มุมส่งเสริมพัฒนาการ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0- 5 ปี จำนวนเงิน  8,000 บาท
  • หนังสือนิทานส่งเสริมพัฒนาการ 0-5 ปี จำนวนเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

• 1. ร้อยละ 85 เด็ก 0 – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย
• 2. เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการติดตามและกระตุ้นโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 90
3. ร้อยละ 80 ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการ เด็กแรกเกิด - 5 ปี
4. เด็ก 0-5ปี ได้รับการคัดกรองเฝ้าระวังโภชนาการ ร้อยละ 90
5. เด็ก 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการสมส่วน ร้อยละ 66


>