กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ คัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ตำบลจวบ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

โรงพยาบาลเจาะไอร้อง

ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต การจะทำให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพมีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย มีความฉลาดทางด้านสติปัญญาและอารมณ์ ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน และสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้อย่างมีคุณภาพนั้น จะต้องได้รับการเกื้อหนุน ส่งเสริม จากหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อม ระบบบริการ และปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งคือตัวผู้เลี้ยงดูเด็กเองจากการสำรวจการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยในจังหวัดนราธิวาส ปี 67 ที่ผ่านมาพบว่าเด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 69.41 พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 19.68 และจากการดำเนินงานตรวจคัดกรองพัฒนาการของเด็กของโรงพยาบาลเจาะไอร้องในปี 2567 พบว่าเด็กมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 39.73 สงสัยล่าช้าร้อยละ 8.33 ซึ่งผู้ปกครอง สามารถมีบทบาทช่วยแก้ไขปัญหาพัฒนาการเด็กล่าช้าโดยสนับสนุนส่งเสริมให้เด็กอายุ 0-5 ปีในความดูแลได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการต่อไป พัฒนาการที่สมวัยเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กไทย การที่เด็กจะมีพัฒนาการสมวัยในทุกๆด้าน ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่แม่ หรือครอบครัวที่จะต้องให้การดูแลที่ถูกต้องตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในปริมาณและสัดส่วนที่เพียงพอ การออกกำลังกาย การตรวจครรภ์ตามนัด ภายหลังคลอดแล้วมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การให้กินอาหารเสริมตามวัย ในส่วนของสถานบริการ จัดให้มีการส่งเสริมสุขภาพและให้ความช่วยเหลือแม่และครอบครัว ในรายที่ต้องการความช่วยเหลือซึ่งครอบครัวและชุมชนควรมีการจัดเตรียมความพร้อม และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมแก่เด็ก เป็นสถานที่สำหรับเตรียมความพร้อมทั้งด้านการเคลื่อนไหว ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านการเข้าใจภาษา และด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคมให้แก่เด็ก ซึ่งเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยลงหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมป้องกันโรค เมื่อครอบครัวและชุมชนมีการเลี้ยงดูเด็กที่ดีแล้ว จะเป็นการวางฐานในการพัฒนาคนให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทางโรงพยาบาลเจาะไอร้อง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยอายุ 0-5 ปีขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย

เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการตรวจประเมินและส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัยร้อยละ 85

0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประเมินส่งเสริมพัฒนาการ เด็ก 0-5 ปี

เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกายสติปัญญาอารมณ์จิตใจและสังคมร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีที่พัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ในรายที่มีความผิดปกติ

1.เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีที่พัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมและได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติร้อยละ 100 2.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประเมินส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีร้อยละ 80

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ในการประเมินและคัดกรองพัฒนาการ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ในการประเมินและคัดกรองพัฒนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาทx 50 คน = 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆละ25บาท x 1 วัน x 50 คน = 2,500 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร จำนวน 1ป้าย = 720 บาท
  • รวมงบประมาณ กิจกรรมที่ 1 ทั้งสิ้น6,220 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6220.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินและคัดกรองพัฒนาการ ตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (dspm) ตามช่วงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินและคัดกรองพัฒนาการ ตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (dspm) ตามช่วงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาท  x 50 คน = 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆละ25บาท x 1 วัน x 50 คน = 2,500 บาท
  • ค่าอุปกรณ์การเรียนรู้เสริมสร้างพัฒนาการ จำนวน 50 ชิ้น = 1,000 บาท
  • รวมงบประมาณ กิจกรรมที่ 2 ทั้งสิ้น  6,500 บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,720.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้อง


>