2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล
โครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (Rational drug use; RDU) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นโดย คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาของแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน ให้เป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ถูกต้อง คุ้มค่า บุคลากรสาธารณสุขและประชาชน เกิดความตระหนักถึงปัญหาการใช้ยา และสร้างระบบในการบริหารจัดการด้านยา ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เนื่องด้วยการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลและการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นอย่างไม่ถูกต้องตามข้อบ่งใช้นั้น นอกจากจะก่อให้เกิดปัญหาการใช้ยาที่สูญเปล่าโดยไม่เกิดประโยชน์แล้ว ยังเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาซึ่งเป็นปัญหาการสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศและของโลก ในประเทศไทยพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะปีละมากกว่า 100,000 ราย โดยมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากการติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ ปีละมากกว่า 30,000 ราย ส่งผลให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรจากการติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะตามมามากมาย รวมถึงการใช้ยาชุดบรรเทาปวดซึ่งอาจประกอบไปด้วยยากลุ่ม NSAIDs, steroids ซึ่งอาจส่งผลต่อการรักษาผู้ป่วย ในด้านประสิทธิผล ความคุ้มค่า ความปลอดภัย และก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้อีกด้วย
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ประชาชนมีความรู้จำกัด หรือ มีความรู้ไม่ถูกต้องในการเลือกซื้อและใช้ยา ไม่เห็นด้านที่เป็นอันตรายต่อการใช้ยา มีกระบวนการตัดสินใจที่ซับซ้อนโดยได้รับอิทธิพลจากแหล่งข้อมูลที่เสี่ยงต่อการส่งเสริมให้มีการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม เช่น ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน และข้อมูลจากการโฆษณา มีการใช้ยาตามวัฒนธรรมความเชื่อเดิมที่มักก่อให้เกิดการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม เช่น เชื่อมโยงความแรงของยากับยี่ห้อ รูปแบบยา และแหล่งที่มาของยา มีการพลิกแพลงวิธีใช้ยาตามตรรกะที่คิดขึ้นเอง หรือใช้ยาตามประสบการณ์ และ คำบอกเล่า พฤติกรรมการใช้ยาของประชาชน คือภาพสะท้อนของพฤติกรรมของระบบความไม่สมเหตุสมผลที่ปรากฏในพฤติกรรมของประชาชนจึงเป็นภาพสะท้อนของความไม่สมเหตุสมผลของระบบยาทั้งระบบ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ 1.ระบบการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ ยังเน้นการใช้ยาเป็นทางออกหลักในการแก้ปัญหา ยังขาดการส่งเสริมการบำบัดรักษาความเจ็บป่วยที่ไม่ต้องพึ่งยา หรือแม้กระทั่งขาดการเน้นพิษภัยของยาให้เป็นที่ตระหนักในวงการวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข 2.ระบบยาของประเทศไทยยังมีความฟุ่มเฟือย มีการใช้ยาไม่จำเป็น แม้กระทั่งในระบบโรงพยาบาลของรัฐบาล ระบบยาและการใช้ยาที่เป็นอยู่มีผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของระบบ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี ร่วมกับงานคุ้มครองผู้บริโภคและงานบริการเภสัชกรรมปฐมภูมิมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลร่วมกับประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง ได้เล็งเห็นปัญหาของการขาดการส่งต่อความรู้เดิมและความรู้ใหม่ๆ เรื่องโรคและยาแก่ประชาชน จึงได้จัดทำโครงการโดยการจัดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่สอดคล้องกับบริบทของประชาชน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และ ความต่อเนื่องของการให้บริการประชาชนมีสุขภาพดี และมีดุลยภาพที่พอดีระหว่างการพึ่งตนเองกับพึ่งบริการ มุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือของผู้ป่วย ครอบครัวและ ชุมชน ในการวางแผนการใช้ยาที่เหมาะสม และ สมเหตุสมผลเพื่อให้ได้ผลประโยชน์จากการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 05/02/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจและให้ข้อมูลที่ถูกต้องเรื่องหลักการใช้ยาอย่างถูกวิธี
2. กลุ่มเป้าหมาย มีการตระหนักเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคยาที่ถูกต้อง
3. กลุ่มเป้าหมาย มีความเข้มแข็งและคุณภาพในด้านยาของประชาชน
4. กลุ่มเป้าหมาย มีความเข้าใจถึงการดูแลตนเองเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้ยารวมถึงการป้องกันปัญหาจากการใช้ยา
5. กลุ่มเป้าหมาย มีความเข้าใจถึงหลักการเลือกใช้สมุนไพรให้ปลอดภัย