2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เล็งเห็นถึงความสำคัญว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูง จึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศ มาบรรจุในโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมายาวนานมากว่า 30 ปีแล้ว โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญคือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นครอบคลุมจำนวนโรคให้มากที่สุด ให้ครอบคลุม ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสูงที่สุด ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน จัดให้มีการให้บริการวัคซีนในทุกระดับของสถานบริการ วัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงและต้องมีความปลอดภัย และให้บริการโดยไม่คิดมูลค่าแม้ว่าวัคซีนจะไม่ใช่ยารักษาโรค แต่วัคซีนก็เป็นเครื่องป้องกันที่ช่วยให้เด็ก ๆ ปลอดภัยจากโรคร้ายที่มากล้ำกรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยขวบปีแรกที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายการรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทานเป็นวิธีที่ง่ายดายปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันเด็กจากโรคบางอย่างความเสี่ยงจากโรคเหล่านั้นมากมายหลายเท่าเพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานที่ครบถ้วนเด็กจะต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุทั้งหมดและควรได้รับตรงเวลาอีกด้วย เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาได้เกิดโรคระบาดขึ้นในจังหวัดยะลาปัตตานีและนราธิวาส เช่น โรคคอตีบและโรคหัดซึ่งทำให้เด็กตายลงเป็นจำนวนมาก เด็กที่เสียชีวิตนั้นไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเลยแม้แต่ครั้งเดียวจึงไม่มีภูมิต้านทานโรค
จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี ในรอบปี 2567 ที่ผ่านมาพบว่าในกลุ่มเด็ก 0-5 ปีมีเด็กทั้งสิ้นจำนวน 309 คน เด็กที่อายุครบ 1 ปีบริบูรณ์ได้รับวัคซีนคิดเป็นร้อยละ 78.65 เด็กที่อายุครบ 2 ปีบริบูรณ์ได้รับวัคซีนคิดเป็นร้อยละ 70.12 เด็กที่อายุครบ 3 ปีบริบูรณ์ได้รับวัคซีนคิดเป็นร้อยละ 50 และเด็กที่อายุครบ 5 ปีบริบูรณ์ได้รับวัคซีนคิดเป็นร้อยละ 71.42 จะเห็นได้ว่าความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนยังต่ำกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดร้อยละ 90 โดยสาเหตุเกิดจากการหลายปัจจัย ทั้งผู้ปกครองความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับวัคซีน และความเชื่อทางศาสนา สภาพสังคมเปลี่ยนไปผู้ปกครองฝากเด็กกับผู้สูงอายุ ทำให้ไม่มีใครพามาฉีดวัคซีนเด็กป่วยบ่อยทำให้การได้รับวัคซีนล่าช้าซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน จากข้อมูลข้างต้นเกณฑ์ในการประเมินทั้งหมดกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0-5 ปี จะต้องผ่านเกณฑ์การได้รับวัคซีนร้อยละ 90 ซึ่งหากไม่รีบดำเนินการหรือหาแนวทางแก้ไขปัญหาพื้นที่ตำบลบุดี มีแนวโน้มของการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลเสียและผลกระทบทางด้านสุขภาพของคนในตำบลระบบเศรษฐกิจจะเกิดปัญหาขึ้นดังนั้นทางรพ.สต.บุดี ได้เห็นถึงความสำคัญของสุขภาพเด็กด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพเด็กและการเข้าถึงบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคระบาดในชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 05/02/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. 1. องค์กรในชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชนผู้นำศาสนา อสม. มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความครอบคลุมของวัคซีนเด็ก 0-5 ปี
2. 2. ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้ที่ถูกต้องและตระหนักถึงความสำคัญของการรับวัคซีนตามนัด มีการพัฒนาระบบ บริการเพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายและเพิ่มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. 3. เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุร้อยละ 90
4. เด็กที่ไม่ยอมรับวัคซีนได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20