กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาตอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหมู่บ้านนี้ปลอดภัยลูกน้ำยุงลายและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาตอง

นายเจ๊ะวาดี ดือราฮิง

หมู่ที่ 1,3,5ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

70.00

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความ สูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกัน รณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหา โรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักและยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหา โรคไข้เลือดออกยังคงคุกคามชีวิตประชาชนชาวไทยคือการที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของ โรคไข้เลือดออก และการไม่มีพฤติกรรมตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก พื้นที่ในจังหวัดยะลา มีแนวโน้มในการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้น โรคไข้เลือดออกเป็น โรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นกลวิธีในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก คือ การควบคุมยุง พาหะนำโรคไม่ให้มี หรือมีน้อยที่สุด โดยมุ่งเน้น ให้ชุมชนและโรงเรียนในพื้นที่ มีความตื่นตัวในการเฝ้าระวัง โรคนี้หากมีการระบาดเกิดขึ้นในชุมชน จะต้องรู้อย่างรวดเร็ว และลงมือควบคุมโรคทันที โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลาย และทำลายลูกน้ำยุงลายทั้งในชุมชน ในโรงเรียน ให้ได้ครอบคลุม
จากรายงานทางระบาดวิทยาของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค ข้อมูล ณ วันที่ 11 กันยายน 2567 สถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี 2567 พบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยจำนวน 98,946 ราย เสียชีวิต 83 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 116.04 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตายร้อยละ 0.10 และในจังหวัดยะลา มีรายงาน พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 6,985 ราย มีผู้ป่วยเสียชีวิต 15 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 10.04 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตายร้อยละ 0.09 จากการสำรวจและศึกษาข้อมูลย้อนหลังของโรงพยาบาลสุขภาพตำบลบ้านปาแตรู อำเภอยะหา จังหวัดยะลา การระบาดของโรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2566 มีผู้ป่วย 5 ราย อัตราป่วย 144.92 ต่อแสน ประชากร ปี พ.ศ.2567 มีผู้ป่วย 9 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 252.38 ต่อแสน ทำให้โอกาสที่จะเกิดการระบาด ปี 2568 เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการรณรงค์ควบคุมและป้องกันไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ชมรม SRRT และชุมชน เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านปาแดรู ได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ อนามัยของประชาชนและด้านอื่นๆ จึงได้ดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกทั้งในชุมชนและในโรงเรียน ตามนโยบาย แนวทางของจังหวัดยะลา มาโดยตลอด แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีปัญหาอยู่มาก ทั้งด้านความจำกัด ในทรัพยากร ลักษณะทางภูมิศาสตร์ วิธีการจัดการ การรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นผลให้การควบคุม โรคไข้เลือดออก ไม่ได้ประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจ การแก้ไขต้องกระทำทั้งภาครัฐ ประชาชน รวมทั้งภาคเอกชนควบคู่ กันไป ที่สำคัญที่สุดให้ประชาชนมีบทบาทอย่างเต็มที่และมีความรู้ความเข้าใจสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนใน ชุมชนและทุกภาคส่วนร่วมมือกันในการควบคุมแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกด้วย ตัวเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จึงได้จัดทำ โครงการ “หมู่บ้านนี้ปลอดลูกน้ำยุงลายและป้องกันโรคไข้เลือดออก”

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

70.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานให้ความรู้โรคไข้เลือดออกและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแก่ อสม.เพื่อถ่ายทอดให้กับแกนนำครอบครัวและประชาชนทั่วไป ร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน SRRT
    รพ.สต. บ้านปาแตรู
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการ 1. การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ ให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
2. การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ ให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
3. ดำเนินการสอบสวน ค้นหา ผู้ใกล้ชิดที่มีความเสี่ยง/กลุ่มสงสัย
4. ดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกโดย
4.1 ทำลายลูกน้ำยุงลาย และแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทุกวันศุกร์
4.2 ให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนโดย อสม. เดือนละ 1 ครั้ง
4.3 ดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายในพื้นที่เป้าหมาย ภายใน 24 ชม. จำนวน 2 ครั้ง (วันที่1 และวันที่ 7)
4.4 จัด Big Cleaning Day เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม
จํานวน........30,000.. บาท รายละเอียด ดังนี้
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.00X 2.00 เมตร 1 แผ่น
เป็นเงิน
บาท
- ค่าอาหารว่าง 35 บาท X 54 คน X 2 มื้อ (จัดอบรม)
เป็นเงิน .....3,780. ...บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 75 บาท X 54 คนX 1 มื้อ เป็นเงิน ....4,050.. ..บาท
- ค่าวัสดุสำนักงานสำหรับการอบรม
เป็นเงิน......3,260... บาท
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันผสมสารเคมีในการพ่นหมอกควัน
เป็นเงิน......6,560 บาท
- ค่าน้ำยาสำหรับพ่นหมอกควัน จำนวน 3 ขวดๆละ 1,400 บาท
เป็นเงิน........4,200...
...บาท
- ค่าน้ำยาเคมีกำจัดยุง ชนิดสเปรย์ จำนวน 15 ขวดๆละ 90 บาท
เป็นเงิน......1,350... ..บาท
- ค่าตอบแทนการพ่นหมอกควัน
- จำนวน 4 โรงเรียน 2 ค่ายทหาร ละ 2 ครั้งๆ ละ 1 คนๆ ละ 150 บาท
เป็นเงิน 1,800 บาท
- กรณีพบกลุ่มป่วย/สงสัยป่วย จำนวน 15 รายๆ ละ 2ครั้งๆ 1 คนๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน...4,500....บาท
รวมเป็นเงิน 6,300...บาท
รวมจำนวนเงินทั้งสิ้น 30,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ทำให้สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  2. ทำให้สามารถลดความชุกชุมของลูกน้ำยงลายได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

กิจกรรมที่ 3 ขั้นประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ขั้นประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปและประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>