กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันและลดการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและลดการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี

ตำบลบุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

โรคไตเรื้อรัง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี และเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต ซึ่งได้แก่ การล้างไตทางช่องท้อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการปลูกถ่ายไต มีค่าใช้จ่ายสูงมาก และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยรวม ปัจจุบันพบผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังกระจายอยู่ในชุมชนและหมู่บ้านทั่วประเทศ โดยสาเหตุส่วนใหญ่ เกิดจากโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ส่วนโรคอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ โรคเกาต์ โรคนิ่วในไต เป็นต้น โดยโรคเหล่านี้ย่อมมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหาร และหากบริโภคอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้กลายเป็นโรคไตเรื้อรัง และไตวายได้ง่ายขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคถุงน้ำที่ไตกับการได้รับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เป็นระยะเวลานาน อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นบุคคลที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตเรื้อรัง ได้มากยิ่งขึ้น
ตำบลบุดีนับว่าเป็นตำบลหนึ่งที่มีประชากรอาศัยเป็นจำนวนมาก และมีสถิติการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะกลุ่มโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน นับว่าเป็นโรคอันเนื่องเป็นสาเหตุต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง โดยพบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองอย่างถูกต้อง ซึ่งอาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพในอนาคต
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี ได้ตระหนักเห็นถึงปัญหา จึงได้มีการจัดทำกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองอย่างถูกต้องในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันการโรคไตวายเรื้อรังมุ่งหวังให้คนในชุมชน มีความรู้และมีทักษะในการดูแลตนเองรวมถึงได้รับการกระตุ้น ส่งเสริม และสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคจนสามารถดูแลตนเอง คนในครอบครัวและชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/02/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง แก่ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 40 คน

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง แก่ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600.- บาท จำนวน 1 วัน  เป็นเงิน 3,000 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน x 1 มื้อ x 1 วัน x 75 บาท      เป็นเงิน 3,000 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 2 มื้อ x 1 วัน x  35 บาท  เป็นเงิน 2,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น


>