กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตและสุขภาพกาย ตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกแก่ผู้สูงวัยเชิงรุกในสถาบันปอเนาะตำบลเมาะมาวี

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เมาะมาวี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตและสุขภาพกาย ตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกแก่ผู้สูงวัยเชิงรุกในสถาบันปอเนาะตำบลเมาะมาวี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เมาะมาวี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมาะมาวี

ปอเนาะมัสยิดบ่อเก้า หมู่ 4 ตำบลเมาะมาวี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากอัตราผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นภายใต้สังคมในปัจจุบันท ทำให้ผู้สูงอายุเผชิญกับปัญหา ทางด้านสุขภาพจิตโดยเฉพาะภาวะซึมเศร้าก็มีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยจากสถิติพบว่าภายใน ปี พ.ศ 2563 ภาวะซึมเศร้าจะกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับ 1ของโลกและจะเป็นสาเหตุของ การเสียชีวิตเป็นอับดับ 2 ด้วย และจากสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกา พบผู้สูงอายุที่มีภาวะ 2 ซึมเศร้าจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายถึงร้อยละ 16 ของประชากรสูงอายุทั้งหมด และส่วนของประเทศ ไทยจากสถิติภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ 2562 พบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตของ ผู้สูงอายุอยู่ในระดับต่ำ (Foundation for Thai Elderly Research and Development Institute Annual Report, 2019) ในปี พ.ศ 2556 พบผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าถึงร้อยละ 33 และได้รับ วินิจฉัยเป็นโรคซึมเศร้าร้อยละ 6 จากนั้นในปี พ.ศ 2559 พบผู้สูงอายุเป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23 ของประชากรสูงอายุทั้งหมด และอัตราการมีภาวะซึมเศร้าจะสูงมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้นด้วย(สาวิตรี สิงหาด, 2559) จะเห็นได้จากสถิติในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจะพบได้ว่าผู้สูงอายุมีแนวโน้ม เป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผลกระทบจากภาวะซึมเศร้านี้ไม่ได้ร้ายแรงน้อยไปกว่าปัญหา ทางด้านอื่นๆเลย อีกทั้งยังส่งผลกระทบไปที่ด้านอื่นๆด้วย เช่น ความสามารถในการประกอบ กิจกรรมการด าเนินชีวิตลดลง อยู่ในภาวะพึ่งพิงมากขึ้น มีความเสี่ยงต่อการเกิดทุพพลภาพ และมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ดังนั้นหากมีการส่งเสริมทางด้านสุขภาพจิตให้มีการเตรียมตัวรับมือ วางแผนก่อนเข้าวัยผู้สูงอายุ หรือมีการให้การดูแลทางด้านสุขภาพจิตควบคู่ไปกับการประเมินภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ จะเป็นการดูแลสุขภาพกายและจิตใจแบบองค์รวม (Holistic Care) รวมถึงการสนับสนุนในด้านอื่นๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้นในระยะยาวด้วย
ด้วยเหตุนี้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมาะมาวี จึงเล็งเห็นปัญหาด้านสุขภาพจิต ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต จึงต้องรีบค้นหาผู้สูงอายุในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ได้อยู่กับบุตรหลาน เป็นกลุ่มควรให้ความสำคัญเมื่อพบว่ามีกลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยในปอเนาะ หมู่ 4 ตำบลเมาะมาวี ซึ่งเป็นสถานที่มีการเรียนการสอนทางด้านหลักศาสนาอิสลามและทำกิจกรรมต่างๆในปอเนาะนี้ ซึ่งผู้สูงอายุบางรายอาศัยอยู่ในปอเนาะเป็นระยะเวลานานเป็นเดือน บางรายมากกว่านั้นทำให้การตรวจและประเมินด้านสุขภาพกายและจิตใจ จึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้ ได้รับการดูแลที่เหมาะสมและต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการค้นหาและคัดกรองสุขภาพจิต กายและช่องปาก

ร้อยละ 80 ของกลุ่มผุู้สูงอายุได้ประเมินภาวะสุขภาพจิตและตรวจสุขภาพช่องปาก

60.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ห่างไกลจากโรคทางจิตเวช และลดการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

ร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการไม่มีภาวะป่วยด้วยโรคทางจิตและมีสุขภาพจิตที่ดี

40.00 50.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ร้อยละ 20 ของผู้สูงอายุลดการเกิดโรคสมองเสื่อม

15.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมเตรียมความพร้อม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมเตรียมความพร้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 เมษายน 2568 ถึง 10 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายไวนิล 900 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 วันๆละ 40 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาทเป็นเงิน 5,600 บาท 3.ค่าอาหารกลางวัน 2 วันละ 40  คนๆละ 1 มื้อๆละ 80 บาทเป็นเงิน 6,400 บาท 4.ค่าตอบแทนวิทยากร 2 วันๆละ 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2568 ถึง 11 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะการสังเกตอาการและสามารถดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะผิดปกติทางสุขภาพจิตส่งต่อและประสานพบแพทย์ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18900.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 1 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,900.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตและมีสุขภาพช่องปาดที่ดี เพื่อให้มีการดำเนินชีวิตที่ส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ต่อไปในอนาคต


>