แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะเร็ด
-
หมู่ที่ 3 , 5 และ 8 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขในระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราตาย การป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจึงส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ตามลำดับ หากมีการตรวจวินิจฉัยขั้นต้นที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบบ่อยในกลุ่มเด็กอายุ ระหว่าง 5 - 9 ปี แต่ปัจจุบันมักพบผู้ป่วยได้ในทุกกลุ่มอายุ และโรคไข้เลือดออกนี้มียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออก 5 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2567) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะเร็ด พบว่ามีอัตราป่วย ดังนี้ 156.82, 0.00, 51.38, 254.71 และ 807.26 (ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ จากการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์โรคอย่างใกล้ชิด ระดมการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องซึ่งปัญหาที่ผ่านมา ได้แก่
1. ประชาชนมักขาดความร่วมมือในการดูแลสิ่งแวดล้อมจนเกิดปัจจัยเอื้อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อันเป็นพาหะ (Vector) ในการแพร่กระจายโรค
2. ประชาชนขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวงจรชีวิตยุงลาย ไม่ให้ความสำคัญในการกำจัดตัวเต็มวัยและลูกน้ำยุงลายอย่างเหมาะสม
3. ประชาชนขาดความตระหนักที่จะเฝ้าระวังโรค ไม่เห็นความสำคัญและไม่สร้างนิสัยในการที่จะกำจัดยุงลายและช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนตนเองอย่างต่อเนื่อง มักปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทำหน้าที่ป้องกัน และควบคุมโรค
4. ทรัพยากร/วัสดุอุปกรณ์ ในการกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยและลูกน้ำยุงลายมีไม่เพียงพอ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะเร็ด ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 เพื่อควบคุมและลดปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยเน้นให้บ้าน วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสถานที่ราชการ ทำการควบคุมป้องกันและสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 01/05/2025
กำหนดเสร็จ : 26/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.อัตราป่วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 156.82 ต่อแสนประชากร
2.ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก และสามารถป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกได้อย่างยั่งยืน