2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2567 ซึ่งมีแนวโน้มจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา พบว่ามีผู้สูงอายุติดบ้านจำนวนหนึ่งที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต ทั้งในด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพ ความโดดเดี่ยว ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการขาดแคลนการสนับสนุนทางการเงิน
ที่เพียงพอ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุในระยะยาว รวมถึงส่งผลให้ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ต้องการการดูแลที่ครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงการสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน ผู้สูงอายุติดบ้านในชุมชนมีความต้องการการดูแลและบริการที่เข้าถึงง่าย จากผลการสำรวจความต้องการของผู้สูงอายุติดบ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านท่าไทร พบว่า 5 อันดับ ความต้องการหลักของผู้สูงอายุ ได้แก่
1. การช่วยติดต่อให้ได้พบบุตรหลานและคนในครอบครัว
2. การได้รับการสนับสนุนด้านการเงินที่เพียงพอ
3. การเข้าถึงบริการสาธารณสุขแบบการดูแลใกล้ชิด
4. การมีโอกาสพบปะสังคมและร่วมกิจกรรมในชุมชน
5. การได้พบกับพระในขณะที่ยังมีชีวิต
การที่ผู้สูงอายุติดบ้านได้พบปะครอบครัวและลูกหลานถือเป็นการสร้างสุขภาวะทางจิตใจ ลดความเหงาและความรู้สึกโดดเดี่ยว นอกจากนี้ การสนับสนุนด้านการเงินก็มีความสำคัญเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเพียงพอ ขณะที่การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐได้อย่างสะดวกและต่อเนื่องจะช่วยให้ผู้สูงอายุติดบ้านได้รับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานและป้องกันโรคเรื้อรัง หรือภาวะทุพพลภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ผู้สูงอายุติดบ้านยังต้องการโอกาสในการพบปะเพื่อนบ้านและมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสุข ลดภาวะซึมเศร้าและช่วยให้รู้สึกเชื่อมโยงกับสังคมอย่างมีคุณค่า
ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าไทร จึงจัดทำโครงการ “สะพานใจห่วงใยผู้สูงอายุติดบ้าน” โดยเป้าหมายในการจัดการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านให้ครอบคลุมความต้องการของผู้สูงอายุติดบ้าน ด้านสุขภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพและการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุติดบ้านทั้งในด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ ผ่านการดูแลและสนับสนุนจากเครือข่ายชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยดำเนินการในหมู่ที่ 5 , หมู่ที่ 6 , หมู่ที่ 7 , หมู่ที่ 8 , หมู่ที่ 9 ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีเป้าหมายสำคัญเน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับครอบครัว การสนับสนุนด้านการเงินที่จำเป็น การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐอย่างทั่วถึงและการเสริมสร้างสุขภาวะจิตใจผ่านการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
ชุมชน รวมถึงครอบคลุมความต้องการของผู้สูงอายุติดบ้านได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้า
อย่างยั่งยืนต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/12/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ผู้สูงอายุติดบ้านมีความสุขและสุขภาวะทางจิตใจที่ดี จากการมีปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับครอบครัวและการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน
2.ผู้สูงอายุติดบ้านมีรายได้เสริมจากกิจกรรมงานฝีมือที่สอดคล้องกับศักยภาพ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขามีความรู้สึกมีคุณค่าและมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้น
3.การทำงานร่วมกันของหน่วยงานในชุมชนและเครือข่ายภาคีช่วยเสริมสร้างการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านในระยะยาว ส่งผลให้ชุมชนมีการพัฒนาและเข้มเเข็งอย่างยั่งยืน