กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะเร็ด

-

หมู่ที่ 3 , 5 และ 8 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

14.24
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

28.87

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ทั้งที่ควบคุมไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ภาวะความเครียด การบริโภคอาหารไม่เหมาะสม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งหากประชาชนมีการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวแล้วจำเป็นต้องกินยาตลอดชีวิต หรือหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ จากผลการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชากร อายุ 35 ปี ขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะเร็ด อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ในปีงบประมาณ 2567 ผลจากการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน เป้าหมาย 931 คน ได้รับการคัดกรอง 701 คน คิดเป็นร้อยละ 75.29 ปกติ 494 คน คิดเป็นร้อยละ 70.47 เสี่ยง 205 คน คิดเป็นร้อยละ 29.24 สงสัยเป็นโรค 2 คน คิดเป็น ร้อยละ 0.28 และผลจากการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง เป้าหมาย 805 คน ได้รับการตรวจคัดกรอง 604 คน คิดเป็นร้อยละ 75.03 ปกติ 466 คน คิดเป็น ร้อยละ 77.15 มีภาวะเสี่ยง 86 คน คิดเป็นร้อยละ 14.24 สงสัยเป็นโรค 52 คน คิดเป็นร้อยละ 8.61 ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ รวมทั้งสามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะเร็ด อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลที่สงสัยจะเป็นโรคและคนที่เสี่ยงสูงตามลำดับ จำนวน 60 คน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงลดลง

14.24 13.24
2 เพื่อลดจำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง

28.87 25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/05/2025

กำหนดเสร็จ : 26/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรค Metabolic ตามแบบฟอร์มในประชากรกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปี ขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรค Metabolic ตามแบบฟอร์มในประชากรกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปี ขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรค Metabolic ตามแบบฟอร์มในประชากรกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ จำนวน 923 คน โดย อสม. แกนนำชุมชน ร่วมกับ จนท.และมีการตรวจสุขภาพช่องปากผู้มารับบริการทุกคน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย และตรวจประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย และตรวจประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย และตรวจประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 60 คน รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 26 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยเข้ารับการอบรม จำนวน 60 คน ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจ ร้อยละ 85

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8100.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชุมติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 2.จัดกิจกรรมแลกเปลียนเรียนรู้กลุ่มเสี่ยง รายละเอียดค่าใช้จ่าย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 26 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามประเมินภาวะสุขภาพ จำนวน 60 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
2.กลุ่มเสี่ยงได้รับการอบรมให้ความรู้และได้รับการประเมินภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
3.ลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและลดอัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง


>