กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ บ้านนอกโมเดลส่งเสริมอาหารเพื่อสุขภาพ เค็มน้อย ปรุงอร่อย ลดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนอก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก

รพ.สต.บ้านนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
สิ่งแวดล้อมและสังคม กลุ่มเสี่ยงต้องได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไม่ให้เกิดเป็นผู้ป่วยรายใหม่จึงนับว่าเป็นโรคและภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องรีบดำเนินการแก้ไขป้องกัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำ โครงการ บ้านนอกโมเดลส่งเสริมอาหารเพื่อสุขภาพ เค็มน้อย ปรุงอร่อย ลดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ปี 2568 ขึ้น เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓อ๒ส
กลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมระดับน้ำตาล และควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ในเกณฑ์ปกติ เปลี่ยนกลับมาเป็นกลุ่มปกติ ได้ลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
จากสถิติการเจ็บป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก อำเภอปะนาเระ จ.ปัตตานี พบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากผลการดำเนินงาน คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก ปีงบประมาณ 2568
กลุ่มเป้าหมายการคัดกรองโรค 1,630 ราย คัดกรองแล้ว 729 คน พบว่า ผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงพบกลุ่มเสี่ยง 152 รายคิดเป็นร้อยละร้อยละ 9.32 ผลการคัดกรองโรคเบาหวานพบกลุ่มเสี่ยง 85 ราย ร้อยละ (ลงว่าคัดกรองจริงล่าสุดไปเท่าไหร่)ดังนั้น การเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง จะช่วยทำให้กลุ่มเสี่ยงสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่นๆในชุมชน เป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร
ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยใช้หลัก 3 อ 2ส เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออารมณ์หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกสูบุหรี่และดื่มสุรา และส่งเสริมการขายอาหารสุขภาพเกิดขึ้นในชุมชน เป็นทางเลือกในการดูแลสุขถาพ
รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกันไปอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก ได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของ ประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค ๓อ ๒ส ตามวิถีชุมชน เพื่อการมีสุขภาพดีโดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
1.เพื่อลดจำนวนควบคุม ประชากรกลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ไม่เกินร้อยละ 5
2.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการอบรม ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานร้อยละ 60
3.ประชากรกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/กลุ่มที่มี BMI เกิน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 60
4.มีร้านค้าต้นแบบในชุมชนเกิดขึ้น 1 ร้าน
5. มีบุคคลต้นแบบเกิดขึ้นในตำบลบ้านนอก 1 คน
ตัวชี้วัด
1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ไม่เกินร้อยละ 5
2.ร้อยละ 60 ประชากรกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการอบรม ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน
3.ร้อยละ 60 กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการปรับปลี่ยนพฤติกรรม
4.มีร้านค้าต้นแบบในชุมชนเกิดขึ้น 1 ร้าน
5.มีบุคคลต้นแบบเกิดขึ้นในตำบลบ้านนอก 1 คน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/02/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการ บ้านนอกโมเดลส่งเสริมอาหารเพื่อสุขภาพ เค็มน้อย ปรุงอร่อย ลดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ปี 2568

ชื่อกิจกรรม
โครงการ บ้านนอกโมเดลส่งเสริมอาหารเพื่อสุขภาพ เค็มน้อย ปรุงอร่อย ลดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ปี 2568
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมวันที่ 1 กิจกรรมประเมินภาวะ BMI วัดรอบเอว รอบสะโพก ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) และวัดความดันโลหิตสูงก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
1.  จำนวน 60 คน ภายในกิจกรรมประกอบด้วย
1.1 อบรมให้ความรู้เชิงปฎิบัติการ แก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหาร ด้านอารมณ์ และการออกกำลังกาย 1.2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ออกแบบเมนูอาหาร สาธิตเมนูอาหารตัวอย่าง เพื่อนำไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1.3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การ ออกกำลังกายทำน้อยเผาผลาญมาก เพื่อเป็นไอเดียสามารถทำได้ไม่กระทบต่อหลักความเชื่อทางศาสนา 1.5 กิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน (เยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง) เติมพลังปรับเปลี่ยนฉันทำได้
กิจกรรมวันที่ 2 1.ชี้แจงเกี่ยวกับการจัดตั้งร้านค้าต้นแบบในชุมชน และการเตรียมร้านค้า แก่เจ้าของร้านและผู้เข้าร่วมโครงการ 2.กิจกรรมประประกวดเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ แบ่งกลุ่มให้ผู้เข้าร่วมโครงการออกแบบเมนูด้วยตนเอง
ผู้ร่วมกิจกรรมจำนวน 60 คน ภายในกิจกรรมประกอบด้วย
2.1  แบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม
ให้เลือกวัตถุดิบและคิดเมนูอาหาร ส่งตัวแทนเข้าประกวด กลุ่มละ 2 คน 2.2  กิจกรรมการแข่งขัน ให้เวลา 40นาที ทำอาหารออกมากลุ่มละ 2 เมนู เน้นสารอาหารครบ เค็มน้อย ปรุงอร่อย จัดอาหารสวยงาม 2.3 กรรมการประเมินความถูกต้องของอาหารให้   คะแนน 3.คัดเลือกบุคคลต้นแบบหลังจากปรับเปลี่ยนครบ 3เดือน 4. มอบเกียรติบัตรเพื่อเป็นเกียรติและกำลังใจให้แก่  ผู้เข้าร่วมโครงการที่ชนะการประกวด
4. สรุปโครงการ งบประมาณ 1.ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 500บ.x6ชั่วโมง  = 3,000 บ. 2. ค่าอาหารกลางวัน...50..บ.x...60คน  = 3,000 บ. 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25บ.x2มื้อx..60คน = 3,000บ.
4 .ไวนิลโครงการ ขนาด 1x3 เมตร 750 บาท งบประมาณ 1.ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 500บ.x6ชั่วโมง  = 3,000 บ. 2. ค่าอาหารกลางวัน...50..บ.x...60คน   = 3,000 บ. 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
25บ x 2มื้อx..60 คน = 3,000บ.
4.8 ค่าวัสดุและอื่นๆ
- อกไก่สด กิโลละ 100x4
= 400บาท -ไข่เบอร์1 1แผง = 114 บาท -ผักกาด 4 กิโลกรัม=180บาท -ผักสลัด 2กิโลกรัม =100 บาท -บร๊อกโคลี่ 2 กิโลกรัม =200 บาท -ชุดเครื่องปรุงโซเดี่ยมต่ำ= 266 บาท รวม........20,000.............บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงแลโรคเบาหวาน ไม่เกินร้อยละ 5 2.ร้อยละ 60 ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการอบรม ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน 3.ประชากรกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/กลุ่มที่มี BMI เกินได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 60 4.มีร้านค้าต้นแบบในชุมชนเกิดขึ้น 1 ร้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
หมายเหตุ วันที่และเวลา อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงแลโรคเบาหวาน ไม่เกินร้อยละ 5
2.ร้อยละ 60 ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการอบรม ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน
3.ประชากรกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/กลุ่มที่มี BMI เกินได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 60
4.มีร้านค้าต้นแบบในชุมชนเกิดขึ้น 1 ร้าน


>