2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล
อาหารมีความสำคัญในทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และเป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนา อาหารจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับวัยนี้ ดังนั้น ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ซึ่งในแต่ละหมู่ต้องมีความหลากหลายและปริมาณให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสม
เด็กวัยเรียนเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว การได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือขาดสารอาหารจะมีผลกระทบต่อเด็กได้ ผลกระทบที่พบประกอบด้วย ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านสังคมและจิตใจ ด้านการเรียน และด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาทุพโภชนาการในเด็กนักเรียนนั้น พบว่ามี 3 ปัจจัย ได้แก่ ส่วนบุคคล พฤติกรรม และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ทั้งปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนที่มีส่วนทำให้เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
จากการศึกษาข้อมูลสุขภาพของนักเรียน ปี พ.ศ. 2567 และบริบทสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนบ้านปริกใต้
(นำราษฎร์สามัคคี) มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 66 คน พบว่าโรงเรียนมีปัญหาด้านสุขภาพ นักเรียนมีภาวะทุพโภชณาการ จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 58.00 ซึ่งเกิดจากสภาพเศรษฐกิจในครอบครัวของนักเรียนค่อนข้างลำบาก และผู้ปกครองยังไม่เห็นถึงความสำคัญของการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยของตนเองทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งยังมีปัญหาโรคผอมเกินไป
การเลือกซื้ออาหารที่ไม่มีประโยชน์ และขาดการออกกำลังกาย รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ โรงเรียนที่เอื้อต่อการทำให้นักเรียนมีปัญหาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่เกิดจากการขาดสารอาหาร การรับประทานอาหารไม่เพียงพอต่อ
ความต้องการ ถึงจะมีจำนวนการเกิดปัญหาโรคผอมเกินไปไม่มากแต่ถ้าหากไม่มีการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กไม่ได้เต็มศักยภาพ ซึ่งในปีการศึกษาที่ผ่านมาโรงเรียน
บ้านปริกใต้ (นำราษฎร์สามัคคี) ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิยุวพัฒน์ ภายใต้โครงการ Food For Good
ได้สนับสนุนเงินจำนวน 80,000 บาท จัดเป็นอาหารเช้าให้กับนักเรียนทุกคน เพื่อ แก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ และส่งเสริมให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และรับประทานอาหารครบมื้อ
ทั้งนี้ทางมูลนิธิยุวพัฒน์สนับสนุนเงินเป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษาเท่านั้น ในปีถัดไปให้โรงเรียนได้ดำเนินการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ โดยไม่มีงบประมาณสนับสนุน จากเงื่อนไขดังกล่าวโรงเรียนจึงได้ดำเนินโครงการอาหารเช้าเพื่อน้องขึ้น เพื่อแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ โรงเรียนได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน โดยแก้ปัญหาและเสริมสร้าง ปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญผู้ปกครองของเด็กนักเรียนจำเป็นต้องมีความรู้ เรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมของนักเรียนด้วย จึงได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านปริกใต้ (นำราษฎร์สามัคคี)
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/05/2025
กำหนดเสร็จ 29/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ มีความรู้ในด้านการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย
2. นักเรียนได้รับสารอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ