2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง (Colorectal cancer; CRC) ในประเทศไทย มะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงถือเป็นหนึ่งใน 5 ของมะเร็งที่พบมากที่สุดทั้งในเพศชายและ เพศหญิงโดยจากข้อมูลรายงานอุบัติการณ์ประจำปีของมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงในประชากรไทยล่าสุด (ปี พ.ศ 2562-2563) พบว่า เป็นมะเร็งที่พบมากอันดับสามในเพศชาย และพบมากเป็นอันดับสี่ในเพศ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากสถานการณ์การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในกลุ่มประชากรที่อาศัยในเขตเมือง ทั้งนี้เนื่องมาจาก พฤติกรรมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ การใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร บางประเภทมาก หรือน้อยเกินไป เช่น การบริโภคเนื้อแดง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ และบริโภคอาหารที่มีกากใย น้อยลง (สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง ทั้งสิ้น การทดสอบเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงในระยะเริ่มแรกที่นิยมปฏิบัติมี หลากหลายวิธี และในจำนวนการทดสอบ (test) ทั้งหมดการตรวจคัดกรองด้วยวิธีการตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดแฝง (Fecal immunochemical test) สามารถช่วยลดอัตราตายจากมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงได้ เนื่องจากมีการตรวจพบ ความผิดปกติของมะเร็งในระยะเริ่มต้นก่อน ทำให้สามารถดำเนินการรักษาได้ทันก่อนพัฒนาไปสู่มะเร็งเต็มขั้น อีกทั้งยังมีวิธีการตรวจคัดกรองที่นิยมแพร่หลายคือการยืนยันด้วยการส่องกล้องตรวจ ลำไส้ ใหญ่/ไส้ตรง เป็นเทคนิคการตรวจคัดกรองที่ได้รับการยอมรับและมีความแม่นยำในการทำนายสูง คือมีค่าความไว (sensitivity) ระหว่าง 88.2 -100.0% ในการทำนาย ทั้ง advance adenoma และมะเร็ง
และเนื่องด้วยสถิติผลการตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงในเขตเทศบาลตำบลกระแสสินธุ์ ประจำปีงบประมาณ 2567 พบว่ามีผลตรวจผิดปกติจำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 48.35 ซึ่งสูงกว่าทุกๆ ปี(ปกติอยู่ที่ร้อยละ 8-12) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น โดยมีเป้าหมายให้ประชากรกลุ่มอายุ 50-70 ปีจำนวน 120 คนได้เข้าถึงการตรวจคัดกรอง ด้วยวิธีการตรวจเลือดแฝง ในอุจจาระ (Fecal immunochemical test) และถ้าผลการตรวจเป็นบวกจะทำการยืนยันด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง โดยให้ความสำคัญต่อการตรวจคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งในระยะแรกรวมถึงค้นหาติ่งเนื้อชนิด adenomatous polyp เพื่อการรักษาและป้องกันที่ถูกต้องและทันท่วงที ลดอัตราการตายและการลุกลามของมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงได้ เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงการบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เบื้องต้น (Fit test)
ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้ตรวจยืนยันส่องกล้องมะเร็งลำไส้ใหญ่ในรายที่ผิดปกติ
ข้อที่ 3 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังครอบครัวและสังคมรอบข้างได้
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงการบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เบื้องต้น (Fit test)
2. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้ตรวจยืนยันส่องกล้องมะเร็งลำไส้ใหญ่ในรายที่ผิดปกติ
3. ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังครอบครัวและสังคมรอบข้างได้