แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ รหัส กปท. L8408
อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (การเข้าสุนัต) คือการทำความสะอาดร่างกายที่ต้องตัดแต่งเพื่อขจัดความสกปรก จากงานวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV ได้ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า Smegma หรือขี้เปียก นอกจากนี้การขลิบหนังปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กอีกด้วย ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรนคมะเร็งปาดมดลูกด้วย ในทัศนะของอิสลามนั้น การขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชายเป็นการเอาใจใส่ดูแลสุขอนามัยและการทำให้บริสุทธิ์ การขลิบเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมุสลิมชายทุกคน ภาษาอาหรับ เรียกว่า คีตาน ภาษามาลายู เรียกว่า มาโซ๊ะยาวี ส่วนคนไทยโดยทั่วไป เรียกว่า พิธีเข้าสุนัต หมายถึง การขลิบปลายอวัยวะเพศของเด็กมุสลิมชาย เมื่อย่างเข้าวัยอันควร คือ อายุระหว่าง 6 - 12 ปี โดยการตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะสืบพันธุ์ของชายเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาความสะอาด หากหนังหุ้มนั้นยังปกคลุมอยู่ ส่วนวัตถุที่คล้ายเนยแข็งซึ่งขับถ่ายออกมาโดยผิวหนังของบริเวณปลายอวัยวะสืบพันธุ์จะหมักหมมอยู่ การเข้าสุนัตเป็นการขจัดสิ่งนี้โดยวิธีที่ดีที่สุด อีกประการหนึ่งเพื่อป้องกันน้ำปัสสาวะค้างซึ่งเป็นสิ่งสกปรกมีกลิ่น ยากแก่การทำความสะอาด ในด้านการแพทย์ให้ความเห็นว่า สุนัตเป็นมาตรการที่มีความสำคัญในทางสุขวิทยาเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายก็ต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูง ผู้ปกครองเด็กบางรายมีรายได้น้อยไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายได้
จากปัญหาดังกล่าว คณะกรรมการมัสยิดใหม่นาโต๊ะขุน เล็งเห็นถึงความสำคัญของการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ของเด็กที่มีอายุ 6 – 12 ปี สำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อย และเด็กในความปกครองของครอบครัวถึงเวลาจะต้อง เข้าสุนัส หรือขลิบปลายอวัยวะเพศชาย ที่ไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายได้ จึงได้จัดทำโครงการเข้าสุนัสหมู่ขึ้น
-
1. เพื่อให้การบริการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิมด้อยโอกาส ในตำบลแป-ระ ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมากตัวชี้วัด : เด็กและเยาวชนมุสลิมด้อยโอกาสในตำบลแป-ระ ได้รับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนชายมุสลิมด้อยโอกาสขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์ตัวชี้วัด : เด็กและเยาวชนชายมุสลิมด้อยโอกาสในตำบลแป-ระ ได้ขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมและผู้เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ตำบลแป-ระ สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรคตัวชี้วัด : เด็กและเยาวชนมุสลิมที่เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรคขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. เข้าสุนัสหมู่รายละเอียด
จัดกิจกรรมเข้าสุนัสหมู่ หรือขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ให้แก่ เด็กและเยาวชนในความดูแลของครอบครัวผู้ด้อยโอกาส จำนวน 20 ราย งบประมาณสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพตำบลแป-ระ จำนวน 32,000.- บาท (สามหมื่นสองพันบาทถ้วน) เพื่อจ่ายเป็นค่า ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จำนวน 20 คน ๆ ละ 1,600.- บาทเป็นเงิน 32,000.- บาท
งบประมาณ 32,432.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 6 ก.ค. 2568 ถึง 6 ก.ค. 2568
ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
รวมงบประมาณโครงการ 32,432.00 บาท
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ รหัส กปท. L8408
อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ รหัส กปท. L8408
อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................