กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์

ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบทั้งต่อวัยรุ่น ครอบครัว และสังคมโดยรวม เนื่องจากวันรุ่นยังไม่มีความพร้อมในด้านร่างกาย จิตใจ และเศรษฐกิจในการดูแลบุตร ปัญหาดังกล่าวนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ เช่น การออกจากการศึกษากลางคัน การเลี้ยงดูบุตรอย่างไม่เหมาะสม การเพิ่มภาระทางเศรษฐกิจของครอบครัว รวมถึงสุขภาพของแม่และทารก อย่างไรก็ตาม สถานศึกษาเป็นสถานที่สำคัญที่สามารถให้ความรู้ คำแนะนำ และสร้างความตระหนักรู้ให้กับนักเรียนเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม รวมถึงส่งเสริมค่านิยมที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพและการวางแผนชิวิต การให้ความรู้เกี่ยวกับเำศศึกษาและการป้องกันตนเองอย่างถูกต้องจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการลดปัญหาดังกล่าว
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม สร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจที่เหมาะสม รวมทั้งปลูกฝังค่านิยมในการรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย โครงการนี้จึงมีความสำคัญต่อการสร้างความรู้ ทักษะ และค่านิยมที่เหมาะสมในวัยรุ่น อันจะนำไปสู่การลดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการสร้างสังคมที่มีคุณภาพในระยะยาว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ การให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจของวัยรุ่น การคุมกำเนิด และวิธีป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม

 

0.00
2 เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตในการตัดสินใจและการแก้ปัญหา ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะ คิด วิเคราะห์ ตัดสินใจอย่างเหมาะสม รวมถึงรู้จักปฏิเสธและหลีกเลี่ยงสภานการณ์เสี่ยง

 

0.00
3 เพื่อสร้างความตระหนักรู้และปลูกฝังค่านิยมที่เหมาะสม สร้างทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพทางเพศ การมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

 

0.00
4 เพื่อสนุนการให้คำปรึกษาและสร้างเครือข่ายช่วยเหลือพัฒนาระบบการให้คำปรึงษาในสถานศึกษา รวมถึงสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

0.00
5 เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นในสถานศึกษา และเพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียนอย่างยั่งยืน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหารการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหารการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 วางแผนและเครียมการ

2 ดำเนินกิจกรรม

-จัดอบรมหรือสัมมนาสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศศึกษา การพัฒนาทักษะการคิดริเคราะห์ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ โดยวิทยากรที่มีความเชื่ยวชาญ
-จัดทำสื่อการเรียนรู้ เช่น แผ่นพับ วีดีโอการศึกษา หรือสื่อออนไลน์

-สร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3 ติดตามและประเมินผล

-จัดเก็บข้อมูลสถิติการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในสถานศึกษา

-ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมและความสำเร็จโครงการ

-ปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ และได้รับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างการและจิตใจของวัยรุ่น การคุมกำเนิด และป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม

2 นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะชีวิตในการตัดสินใจและการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ รวมถึงรู้จักปฏิเสธและหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยง

3 นักเรียนเกิดความตระหนักรู้และปลูกฝังค่านิยมที่เหมาะสม มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพทางเพศ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

4 ได้รับการสนับสนุนการให้ตำปรึกษาและมีการสร้างเครือข่ายช่วยเหลือพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาในสถานศึกษา รวมถึงเครือข่ายความนร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5 สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นในสถานศึกษา และปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียนอย่างยั่งยืน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14997.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,997.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>