กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเติมเต็มสุขภาพใจในกลุ่มสตรีและแม่บ้าน (Full Time)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

1.นายอัสมีเจ๊ะบือราเฮง
2.นายไซนุดดีน เจ๊ะบือราเฮง
3.นายอาแว นิจ๊ะ
4.นางสาวฟาระฮ์นาดีเราะห์ สาและ
5.นางแวรอเม๊าะ วาเด็ง

มัสยิดบาเดาะมาตี ม.9 ต.ไพรวัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ภาวะซึมเศร้าของสตรีแม่บ้าน

 

2.00

จากการสำรวจขององคืการอนามัยโลกพบว่าในประชากร 4 คน มักจะมีผู้มีสุขภาพทางจิต 1 คน และอีก 2 คน เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพทางจิต เช่น คนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เป็นต้น สำหรับโรคทางจิตเวชประเทศไทย มีผู้ป่วยทางจิตทั้งหมดจำนวน 1,152,044 ราย ส่วนใหญ่จะเริ่มป่วยในช่วงปลายวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่อายุระหว่าง 15 - 35 ปี ซึ่งเป็นช่วงชีวิตของการทำงานและการสร้างครอบครัว และจากการศึกษาดัชนีวัดความสูญเสียทางสุขภาพหรือ DALYs พบว่าในปี พ.ศ. 2562 คนไทยสูญเสียสุขภาวะ (DALYs) ทั้งที่ควรจะมีชีวิตอยู่อย่างสุขภาพดี โดยอันดับแรกสำหรับเพศชาย มีโรคซึมเศร้าอยู่ในอับดับที่ 10 และในเพศหญิง มีโรคซึมเศร้าอยู่อันดับที่ 3 การสำรวจระดับชาติล่าสุดในปี 2561 พบคนไทยร้อยละ 14 หรือ 9 ล้านกว่าคน
ข้อมูลจากสมาคมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย พบว่า โรคซึมเศร้าพบมากในเพศหญิงมากกว่ามีหลักฐานจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่า เพศภาวะ (Gender) ที่สังคมกำหนดว่า เพศหญิงและเพศชายควรมีบทบาทและพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างไร มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของบุคคล แต่ยังไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์จากการศึกษาในสังคมไทย วัตถุประสงค์ เพื่อเสนอประเด็นเพศภาวะที่มีความเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคซึมเศร้าในผู้หญิงไทย
จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพจิตและโรคจิตเวช เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะในเพศหญิง เมื่อเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้านที่มีภาระหน้าที่ที่ต้องทำงานตลอดจนดูแลครอบครัวและคนใกล้ชิด ชุมชุนหากมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดีและมีแนวทางในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตก็จะช่วยลดสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบเหล่านี้ลงได้ การส่งเสริมสุขภาพจิตคือ การส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการดูแลทางสังคมจิตใจให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลตนเอง และอยู่ในสิ่งแวดล้อมครอบครัว สังคม ชุมชน ที่เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพจิตที่ดีโดยให้สอดคล้องกับสังคมพหุวัฒนธรรม ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพจิตจึงเกิดจากการที่สังคมชุมชนดูแลคุณภาพชิตของประชาชนการจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมทั้งร่างกายจิตใจและการที่ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลจิตใจตนเอง และการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต คือ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชโดยการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ความเครียดระยะยาว ความก้าวร้าวรุนแรงและเพิ่มปัจจัยปกป้อง เช่น การให้กำลังใจการรวมกลุ่มแม่บ้านจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพจิตเติมเต็มจิตวิญญาณโดยใช้แนวคิดศาสนาอิสลามให้มีการบูรณาการร่วมกันอย่างเหมาะสมกับคนในชุมชนมุสลิมของจังหวัดนราธิวาส

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างเครือข่ายกลุ่มสตรีเพื่อพัฒนาและส่งเสริมภาวะสุขภาพจิต 2.เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจโดยใช้คุณธรรม จริยธรรม ตามหลักศาสนาแก่สตรี 3.เพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพจิต และได้รับการส่งต่ออย่างทันท่วงที หากเกิดภาวะผิดปกติ

1.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีเครือข่ายกลุ่มสตรี เพื่อพัฒนาและส่งเสริมภาวะสุขภาพจิต

2.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีภูมิคุ้มกันทางใจโดยใช้คุณธรรม จริยธรรม ตามหลักศาสนาแก่สตรี

3.ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพจิต และได้รับการส่งต่ออย่างทันท่วงที หากเกิดภาวะผิดปกติ

0.00

ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพจิต และได้รับการส่งต่ออย่างทันท่วงที หากเกิดภาวะผิดปกติ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/06/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ ด้วยฮาลาเกาะฮ์ ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ ด้วยฮาลาเกาะฮ์ ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยา 600 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน1,200 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คนx 35 บาทเป็นเงิน1,400 บาท
3.ค่าอาหารกลางวัน 40 คนx 65 บาทเป็นเงิน2,600 บาท
4.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ชนาด 1 x 2 ตร.มเป็นเงิน720บาท
5.ค่าอุปกรณ์การอบรม
สมุด 40 คน x 10 บาท เป็นเงิน 400 บาท ปากกา 40 คน x 10 บาท เป็นเงิน 400 บาท
6.ค่าเอกสารการอบรม 40 คน x 20 บาทเป็นเงิน 800 บาท
รวม7,520 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 15 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ และได้รับการคัดกรองภาวะเครียด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7520.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ ด้วยฮาลาเกาะฮ์ ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ ด้วยฮาลาเกาะฮ์ ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยา 600 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน1,200 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คนx 35 บาทเป็นเงิน1,400 บาท
รวม 2,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ และได้รับการคัดกรองภาวะเครียด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ ด้วยฮาลาเกาะฮ์ ครั้งที่ 3

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ ด้วยฮาลาเกาะฮ์ ครั้งที่ 3
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยา 600 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน1,200 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คนx 35 บาทเป็นเงิน1,400 บาท
รวม 2,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 15 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ และได้รับการคัดกรองภาวะเครียด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2600.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ ด้วยฮาลาเกาะฮ์ ครั้งที่ 4

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ ด้วยฮาลาเกาะฮ์ ครั้งที่ 4
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยา 600 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน1,200 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คนx 35 บาทเป็นเงิน1,400 บาท
รวม 2,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ และได้รับการคัดกรองภาวะเครียด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2600.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ ด้วยฮาลาเกาะฮ์ ครั้งที่ 5

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ ด้วยฮาลาเกาะฮ์ ครั้งที่ 5
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยา 600 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน1,200 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คนx 35 บาทเป็นเงิน1,400 บาท
รวม 2,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 15 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ และได้รับการคัดกรองภาวะเครียด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2600.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ ด้วยฮาลาเกาะฮ์ ครั้งที่ 6

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ ด้วยฮาลาเกาะฮ์ ครั้งที่ 6
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยา 600 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน1,200 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คนx 35 บาทเป็นเงิน1,400 บาท
รวม 2,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ และได้รับการคัดกรองภาวะเครียด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,520.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีเครือข่ายกลุ่มสตรี เพื่อพัฒนาและส่งเสริมภาวะสุขภาพจิต ดูแลส่งต่อ หรือเป็นกระบอกเสียงให้แก่ผู้โดนกระทำทางด้านจิตใจ
2. ผู้รับอบรมมีภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อจิตใจ ไม่เกิดโรคซึมเศร้า มีการจัดการความเครียดอย่างเหมาะสมไม่พบอุบัติการณ์ฆ่าตัวตายของสตรีในเขตตำบลไพรวัน
3. กลุ่มแม่บ้านมีสุขภาพจิตดี มีความสุข


>