กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 9 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประจำปี 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 9 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านควนเคี่ยม

1.นายนิยม บุญเฟื่อง (ประธาน)
2.นางอิงอร ทับสระ (เหรัญญิก)
3.นางสุภาหนูสง (กรรมการ)
4.นางสมศรี ยิ้มวรรณ (กรรมการ)
5.นางภัทลีวรรณ หนูทอง (เลขา)

หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 9 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

36.36
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

24.38

โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำคัญที่องค์การสหประชาชาติประกาศให้เป็นปัญหาทางสาธารณสุข สำหรับประเทศไทยพบแนวโน้มผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น จากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 ประมาณการของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีผู้ป่วยเบาหวาน 4.8 ล้านคน และมีผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานถึง 7.7 ล้านคน จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ทำให้การทำงานของระบบหัวใจ หลอดเลือด ตา ไตและเส้นประสาทบกพร่อง และอาจเกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร(กองโรคไม่ติดต่อ,2562)
จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวนทั้งหมด 31,560 คน โดยควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 31.37ในส่วนของอำเภอปากพะยูน มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวนทั้งหมด 2,926 คน โดยควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 29.43และตำบลฝาละมี พบว่า ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 4,250คน ที่ยังไม่เป็นเบาหวานจำนวน 1,615 คนได้รับการคัดกรองเจาะน้ำตาลปลายนิ้วจำนวน 1,521 คนคิดเป็น ร้อยละ 94.18เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 537 คนพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 0.94 ในส่วนของผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีจำนวน 87 คนคิดเป็นร้อยละ 49.15สำหรับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง พบว่า ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,396 คนได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,305 คนคิดเป็นร้อยละ 93.48เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 537 คนพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 6 คนคิดเป็นร้อยละ 7.32ในส่วนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีจำนวน 322 คน คิดเป็นร้อยละ 79.51 เพื่อให้การดำเนินงานการป้องกันและควบคุมจัดการงานโรคไม่ติดต่อเรื่อรัง NCDsเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เราต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายสุขภาพรวมทั้งประชาชนเพื่อพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและควบคุมจัดการโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดผู้ป่วยรายใหม่ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรครวมทั้งการลดอัตราตายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอีกด้วย
จากข้อมูลดังกล่าว โชมรม อสม.รพ.สต.บ้านควนเคี่ยม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ในกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเอง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์การตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 9 ตำบลบ้านฝาละมี ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและสร้างความรอบรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ 2ส จนสามารถป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

36.36 25.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

24.38 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/12/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจง อสม. ในเรื่ององค์ความรู้ วัตถุ ประสงค์โครงการและแนวทางการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจง อสม. ในเรื่ององค์ความรู้ วัตถุ ประสงค์โครงการและแนวทางการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจง ทบทวน ความรู้แนวทางการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 50 คน - ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ และสามารถตรวจคัดกรองได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย หอกระจายข่าว เวทีประชุมต่างๆของหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย หอกระจายข่าว เวทีประชุมต่างๆของหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย หอกระจายข่าว เวทีประชุมต่างๆของหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ และการตรวจคัดกรอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าจัดทำเอกสาร/แบบคัดกรองโรคฯ จำนวน 600 ชุด ๆ ละ 1 บาทเป็นเงิน 600 บาท - เครื่องตรวจระดับน้ำตาล จำนวน 2 เครื่องละ 2,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท - แถบตรวจระดับตาลในเลือด 100 ชิ้น/กล่อง กล่องละ 1000 บาท จำนวน 6 กล่อง เป็นเงิน 6,000 บาท - เครื่องวัดความดันโลหิตจำนวน 4 เครื่องละ 2,500 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.กลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจากการคัดกรองได้รับการติดตามวัดความดันที่บ้านมากกว่าร้อยละ80
ผลลัพธ์ กลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมีภาวะสุขภาพดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้อยละของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 95
2.ร้อยละประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง
3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
4. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน มีภาวะแทรกซ้อนลดลง


>