กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ใช้ยาปลอดภัยในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 1,6 ตำบลควนเมา ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา

โรงพยาบาลรัษฎา

หมู่ที่ 1,6 ตำบลควนเมา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สังคมไทยในปัจจุบันมีการใช้ยาฟุ่มเฟือยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ยาในประเทศไทยสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ทั้งที่จํานวนประชากรไทยไม่ได้มากนักเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ยา นอกจากนี้ภาวะการใช้ยาฟุ่มเฟือยยังนําไปสู่ปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ ที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสําคัญที่ทุกคนควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองและคนรอบข้างและนําไปสู่การใช้ยาที่เหมาะสมมากขึ้น สาเหตุที่ทําให้เกิดการใช้ยาฟุ่มเฟือย ได้แก่ การเข้าถึงยาเป็นเรื่องง่าย ยาหลายชนิดสามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยา รวมถึงยาสามัญประจําบ้านบางชนิดยังซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้ออีกด้วย บางครั้งการซื้อยาเองโดยไม่ได้รับคําแนะนําที่เหมาะสมอาจทําให้เกิดปัญหาการใช้ยาฟุ่มเฟือยตามมา และประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย โดยธรรมชาติของผู้สูงอายุมักมีโรคประจําตัวหลากอย่าง จึงมีความจําเป็นต้องใช้ยาหลายชนิด ส่งผลให้เกิดแนวโน้มการใช้ยาฟุ่มเฟือย ทั้งนี้ในปัจจุบันยังพบปัญหาเรื่องการใช้ยาซ้ำซ้อน ใช้ยามากเกิน ความจําเป็นและมีการกักตุนยาจากร้านขายยา ไว้ใช้ยามเจ็บป่วยทําให้เกิดปัญหารับประทานยาซ้ำซ้อน หรือยาหมดอายุตามมา ซึ่งยาที่พบ ได้แก่ ยารักษาโรคเรื้อรัง เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน ยารักษาโรคไขมันอุดตันยา รักษาโรคความดันโลหิต เป็นต้น ประเทศไทยกําลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุส่วนมากมักมีโรคประจําตัวซึ่งเป็นโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง โรคเหล่านี้ทําให้ต้องใช้ยาในการรักษาจํานวนมาก และก่อให้เกิดปัญหาจากการใช้ยาตามมา ดังนั้นจึงมีความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง เนื่องจากเป็นกลุ่มประชากรหลักที่มารับบริการในหน่วยบริการการใช้ยารักษาโรคเรื้อรัง โดยพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังมีความแตกต่างกันไปในแต่ละราย บางรายอาจมีพฤติกรรมเหมาะสมในด้านความสม่ำเสมอในการใช้ยาครบ ใช้ยาตรง เวลา แต่บางรายอาจมีบางพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่มีการตรวจสอบวันหมดอายุก่อนการใช้ยา และการเก็บรักษายาที่ไม่มีความเหมาะสม ซึ่งอาจเกิดจากการรับรู้หรือไม่ได้คําแนะนําหรือไม่เห็นประโยชน์ที่ชัดเจนหรือเกิดจากปัญหาด้านร่างกาย เช่น สายตา ความจํา ปัญหาด้านภาษาที่ระบุไม่ชัดเจนและเป็นภาษาต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อเราทราบถึงพฤติกรรมดังกล่าวแล้วก็จะได้มีการวางแผนในการดูแลผู้ป่วยและหาแนวทางแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อไป
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลรัษฎา ได้เห็นความสําคัญของการใช้ยาอย่างปลอดภัยในผู้สูงอายุซึ่งมีโรคประจําตัวเป็นโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทําโครงการ ใช้ยาปลอดภัยในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 1,6 ตําบลควนเมา ประจําปี 2568 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจ การรับประทานยาได้ถูกต้อง และเพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังมีการเก็บยาที่ถูกต้องไม่ปนเปื้อน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจ การรับประทานยาได้ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจ การรับประทานยาได้ถูกต้อง

80.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีการเก็บยาที่ถูกต้อง ไม่มีการปนเปื้อน

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีการเก็บยาที่ถูกต้อง ไม่มีการปนเปื้อน

80.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการเยี่ยมบ้าน ติดตามการรับประทานยา

ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการเยี่ยมบ้าน ติดตามการรับประทานยา

90.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้ในการใช้ยาที่ปลอดภัยในผู้ป่วยโรคเรื้อรังและการเก็บยาที่ถูกต้องไม่ปนเปื้อน

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ในการใช้ยาที่ปลอดภัยในผู้ป่วยโรคเรื้อรังและการเก็บยาที่ถูกต้องไม่ปนเปื้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 300 บาท

  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน  1,250 บาท

  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3350.00

กิจกรรมที่ 2 เยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อติดตามการรับประทานยา

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 3,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจ การรับประทานยาได้ถูกต้อง

2.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีการเก็บยาที่ถูกต้องไม่มีการปนเปื้อน

3.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการเยี่ยมบ้าน ติดตามการรับประทานยา


>