กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมความรู้ป้องกันข้อเข่าเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1,6 ตำบลควนเมา ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา

โรงพยาบาลรัษฎา

หมู่ที่ 1,6 ตำบลควนเมา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ข้อเข่าเสื่อมหรือโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นภาวะที่ข้อเข่าผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานเกิดการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ ทําให้การงอกของกระดูกเวลาเดินจะเจ็บข้อ มีการผิดรูปของข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุ ทําให้เกิดความทรมานแก่ผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง คุณภาพชีวิตลดลง และทําให้โรคอื่น ๆ กําเริบ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เนื่องจากออกกําลังไม่ได้ โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ ทําให้เกิดอาการปวดเข่า บวม เข่าฝืดยึด มีเสียงดังในเข่า ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจําวันได้ดังปกติ ซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป สาเหตุมีได้หลายประการ เช่น ผลสะสมจากความเสื่อมและการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยหนุ่มสาว การที่มีน้ำหนักตัวมากๆ ทําให้เขาต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในทุกขณะที่ก้าวเดิน หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน บางรายเคยมีการอักเสบติดเชื้อ หรือเป็นโรคไขข้อบางชนิด เช่น โรครูมาตอยด์ เป็นต้น จากสถานการณ์พบว่า โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคหนึ่งในสิบโรคที่เป็นสาเหตุสําคัญอันก่อให้เกิดผู้สูงอายุทุพพลภาพในประเทศไทย ทําให้ผู้ป่วยต้องมีชีวิตอยู่อย่างไร้สมรรถภาพในการประกอบอาชีพหรือการใช้ชีวิตประจําวัน เนื่องจากมีพยาธิสภาพที่กระดูกอ่อนผิวข้ออันก่อให้มีอาการปวด จากผิวข้อชํารุดและการอักเสบหากเป็นต่อเนื่อง ทําให้เกิดโรคข้อเสื่อมรุนแรง ช่องว่างผิวข้อหายไป และกระดูกอ่อนผิวข้อชํารุดไปหมด หรือกระดูกปลายข้อทรุดตัว ทําให้เข่าโก่งมากขึ้นได้ ในปัจจุบันพบว่ามีการใช้ยาในการรักษาภาวะข้อเสื่อมนี้เป็นจํานวนมากรองจากยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะยาแก้อักเสบ ซึ่งเป็นการรักษาอาการปวดที่ปลายเหตุเสียมากกว่าและมักจะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ค่อนข้างสูง ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ ตั้งแต่ ๖๐ ปี ขึ้นไป ซึ่งปัญหาปวดเข่าและปวดเมื่อยตามร่างกายเป็นประจํา ผู้สูงอายุบางรายต้องกลายเป็นผู้พิการ เนื่องจากไม่ได้รับการรักษาและดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี
โดยปัจจุบัน หมู่ที่ ๑,๖ ตําบลควนเมา มีประชากรทั้งหมด ๗๒๕ คน มีผู้สูงอายุ จํานวน ๑๘๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๐๖ เมื่อปี ๒๕๖๗ ได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันข้อเข่าเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุ หมู่ที่ ๑,๖ ตำบลควนเมา พบว่ามีกลุ่มเป้าหมายที่อาการไม่ดีขึ้น จํานวน ๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐๐ จากการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ๙ ด้าน พบว่ามีความเสี่ยงด้านการเคลื่อนไหว จำนวน ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๐๑ และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมและภาวะแทรกซ้อน รวมถึงการดูแลตนเองให้ห่างไกล จากโรคข้อเข่าเสื่อม ทางกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลรัษฎา ตําบลควนเมา จึงจัดทํา โครงการ ส่งเสริมความรู้ป้องกันข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ หมู่ที่ ๑,๖ ตําบลควนเมา ประจําปี๒๕๖๘ ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะแทรกซ้อนและการดูแลตนเอง

ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะแทรกซ้อนและการดูแลตนเอง

85.00 85.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

85.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการโรคข้อเข่าเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุและสมุนไพรกับการรักษาข้อเข่าเสื่อม

  1. ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 300 บาท

  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน  1,250 บาท

  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3350.00

กิจกรรมที่ 2 บำบัดการฟอกเข่าด้วยสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
บำบัดการฟอกเข่าด้วยสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าสมุนไพรประคบข้อเข่า จำนวน 50 ชุดๆละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท

  2. ค่าผ้าขนหนูขนาด 5x12 นิ้ว จำนวน 50 ผืนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะแทรกซ้อนและการดูแลตนเอง

2.ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

3.ผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมได้รับการฟอกเข่าด้วยสมุนไพร


>