กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะยอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเณรน้อยจิตอาสา พัฒนาสุขภาพยั่งยืน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะยอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าไทรตำบลเกาะยอ

ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของสามเณร สามารถผ่านการประเมินความรู้ด้านสุขภาพและการปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานหลังการอบรมได้สำเร็จ

 

90.00

เหตุผลในปัจจุบัน การเข้าถึงบริการสุขภาพในชุมชน โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทหรือชุมชนรอบวัด ยังเป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ อุปกรณ์ และทรัพยากรด้านสาธารณสุข ทำให้ในบางครั้งไม่สามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในกรณีเจ้บป่วยเล็กน้อยหรือการดูแลสุขภาพเบื้องต้น การพึ่งพาการดูแลสุขภาพจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่อยู่ไกล จึงเป็นภาระทั้งในเรื่องเวลาค่าใช้จ่ายและการเดินทาง พระสงฆ์และสามเณรในวัดซึ่งเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในชุมชน มักจะไม่ได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ และไม่มีการดูแลที่เพียงพอ ส่งผลให้ปัญหาด้านสุขภาพของพระสงฆ์และสามเณรอาจยังคงเป็นปัญหา
การพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยบรรเทาปัญหาการเข้าถึงการรักษาในพื้ันที่โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลชุมชน ด้วยการอบรมและให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน รวมถึงพระสงฆ์และสามเณร เพื่อให้สามารถดูแลตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้ในเบื้องต้น จะช่วยลดภาระการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล นอกจากนี้ การสร้างเครือข่ายจิตอาสาด้านสุขภาพในวัดและชุมชน ยังเป็นการส่งเสริมให้คนในพื้นที่สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น โดยการอบรมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเบื้องต้น การปฐมพยาบาลและการป้องกันโรค
แนวคิดนี้จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ทำให้วัดและชุมชนสามารถจัดการปัญหาสุขภาพด้วยตนเองในระดับพื้นฐาน พร้อมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างชุมชนและวัดในฐานะศูนย์กลางสุขภาพแบบองค์รวมที่ประกอบไปด้วยการดูแลสุขภาพกายและจิตใจโครงการนี้ยังเป็นโอกาสที่ดีในการบูรณาการระหว่างหน่วยงานสาธารณสุข วัด และชุมชนในการสร้างเครือข่ายสุขภาพที่ยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นแก่สามเณรในวัดโคกเปี้ยว ให้สามารถดูแลสุขภาพตนเองและเพื่อนสามเณรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุภายในวัด พร้อมทั้งสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที
  • สามเณรเข้าร่วมการอบรมครบทุกคนตามเป้าหมายที่วางไว้ (30 คน)
  • สามเณรอย่างน้อยร้อยละ 90 สามารถผ่านการประเมินความรู้ด้านสุขภาพและการปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานหลังการอบรมได้สำเร็จ
90.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/11/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมฝึกอบรมเณรน้อยจัดหลักสูตรการปฏิบัติอบรมด้านสุขภาพและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกอบรมเณรน้อยจัดหลักสูตรการปฏิบัติอบรมด้านสุขภาพและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม
  • ทำแบบประเมินความพึงพอใจ

  • กระเป๋าพยาบาล จำนวน 1 ใบ x 1,200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

  • ชุดทำแผล จำนวน 2 ชุด x 550 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท
  • ไม้พันสำลี สเตอร์ไรด์ จำนวน 30 ถุง x 12 บาท เป็นเงิน 360 บาท
  • โพวิไอโอดีน 500 cc จำนวน 1 ขวด x 450 บาท เป็นเงิน 450 บาท
  • น้ำเกลือล้างแผล 300 cc จำนวน 5 ขวด x 40 บาท เป็นเงิน 200 บาท
  • สำลีก้อน 35 กรัม จำนวน 1 ถุง x 190 บาท เป็นเงิน 190 บาท
  • ผ้าก๊อซ 3 x 3 นิ้ว จำนวน 20 ถุง x 12 บาท เป็นเงิน 240 บาท
  • เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล จำนวน 1 เครื่อง x 1,850 บาท
  • เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่อง x 1,500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน x 70 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าประกาศนียบัตร แผ่นละ 15 บาท x 23 คน เป็นเงิน 345 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามเณรสามารถรู้ถึงวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11135.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,135.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.การพัฒนาทักษะของเณรน้อย เณน้อยได้รับความรู้และทักษะ ในการดูแลสุขภาพเบื้อต้น เช่นการปฐมพยาบาล การป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพจิต ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันและในอนาคต
2.วัดได้รับการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น และรวมถึงได้รับประโยชน์จากการมีเครือข่ายอาสาสมัครเพิ่มขึ้น เนื่องจากเณรน้อยทำงานร่วมกับ อสม. และบุคลากรสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น เช่น การให้คำแนะนำด้านสุขภาพ การป้องกัน และการปฐมพยาบาล
3.การสร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพที่เข้มเเข็ง โครงการนี้ช่วยเสริมสร้างความเข้มเเข็งของเครือข่ายการดูแลสุขภาพในชุมชนโดยการผสานบทบาทของเณรน้อยกับอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ทำให้เกิดการดูแลที่ครอบคลุุมมาก
4.การพัฒนาที่ยั่งยืน โครงการนี้เป็นการสร้างพื้นฐานในการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน เนื่องจากเณรน้อยจะสามารถนำทักษะและความรู้ที่ได้รับไปใช้ต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพของชุมชน แม้ว่าโครงการจะสิ้นสุด


>