2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่ประชาชนไทยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น การบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ขาดการออกกำลังกาย โดยที่ประชาชนจำนวนมากไม่รู้ตัวเองว่ามีความผิดปกติหรือเป็นโรคแล้ว และไม่ได้รับการวินิจฉัย และการรักษาที่เหมาะสม จะทราบก็ต่อเมื่อเกิดผลแทรกซ้อนขึ้นแล้ว ซึ่งอาจเกิดเสียชีวิตฉับพลัน หรืออาจเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบและแตก โรคไตวาย และตาบอดมีข้อมูลยืนยันว่า โรคเหล่านี้เป็นภาระมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม โดยที่ประชาชนจำนวนมากไม่รู้ตัวว่าตนเองมีความผิดปกติจะทราบก็ต่อเมื่อเกิดผลแทรกซ้อนขึ้นแล้ว ซึ่งอาจเสียชีวิตฉับพลัน หรือเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้โรคเบาหวานก็เช่นเดียวกัน จากพฤติกรรมการบริโภครวมถึงการขาดการออกกำลังกาย ทำให้คนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น เน้นการตรวจสุขภาพเชิงรุกโดยให้อาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในประชาชนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบภาวะสุขภาพของตนเองและลดความเสี่ยง รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้มีสุขภาพแข็งแรง แต่กระนั้น การที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ก่อนที่จะไปตรวจคัดกรองให้ประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุข จะต้องมีความรู้ ความชำนาญในการคัดกรองและสามารถ ให้คำแนะนำเบื้องต้นในการปฏิบัติตัวแก่ประชาชนได้
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกระแสสินธุ์จึงให้ความสำคัญในการดำเนินการเชิงรุกที่จะส่งเสริมสุขภาพป้องกันควบคุมโรค และเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ให้ความเอาใจใส่ต่อสุขภาพของตนเอง จึงได้จัดทำโครงการคนกระแสสินธุ์มั่นใจ ห่างไกลโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
ข้อที่ 1 เพื่อตรวจคัดกรองสุขภาพและประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป และกระตุ้นให้ตระหนักต่อการดูแลสุขภาพของตนเองก่อนเกิดการเกิดโรคโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนมีความตระหนักในการจัดการและดูแลสุขภาพตนเอง รวมทั้งมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพื่อลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ชุมชนมีศักยภาพเข้มแข็งในการดำเนินงานลดและควบคุมปัจจัยเสี่ยงให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน
2. บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้รับการเพิ่มพูนความรู้และทักษะในเรื่องการบริหารจัดการและวิธีการดูแลประชาชนกลุ่มเป้าหมายเพื่อลดปัญหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
3. มีระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ติดตามและประเมินผล เชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อย่างต่อเนื่อง