กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการ ตาดีกาตากอง ปี 68

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมตาดีกา หมู่ 6 ตากอง

1. นายมะแอ ยูโซะ
2. นายอุสมาน หะยีสมาแอ
3. นายรอแม ยูโซะ
4. นายอิสมาแอ อุเซ็ง
5. นายมะแอ เปาะซา

หมู่ที่ 6 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะอ้วน

 

15.00
2 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะสูงดีสมส่วน

 

61.00

ปัจจุบันวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่จากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเป็นปัจจัยหลักในการใช้ชีวิตของคนส่วนมาก สัมพันธภาพในครอบครัว ความอบอุ่น ขาดหายไปโดยไม่รู้ตัวผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน กินอาหารสำเร็จรูปกันมากขึ้นโดยไม่ได้ดูคุณค่าทางโภชนาการ ลืมในเรื่องของสุขภาพลูกๆ มองข้ามในเรื่องของภัยมืดที่คุกคามสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารสำเร็จรูป เด็กมีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้น เด็กติดเกมส์ขาดกิจกรรมในการเคลื่อนไหว ขยับกาย การออกกำลังกาย ฯลฯ
ดังกล่าวข้างต้น ผู้ปกครองทุกคนที่จะต้องรับผิดชอบร่วมหากมีความรัก เป็นห่วงกับลูกของตัวเอง หากไม่ดูแลพฤติกรรมตั้งแต่ยังเด็กจะเกิดการสะสมส่งผลต่อสุขภาวะของเด็ก เช่น เด็กมีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือทานไม่ถูกต้องก็จะต่ำกว่าเกณฑ์ เด็กมีภาวะซีด มีภูมิคุ้มกันต่ำ ป่วยง่าย เป็นต้นต้องช่วยกันป้องกันและแก้ไข ทางชมรมตาดีกา หมู่ 6 ตากอง เห็นควรว่าการป้องกันปัญหาข้างต้นต้องแก้และป้องกันตั้งแต่กลุ่มเป้าหมายที่ยังเป็นเด็กวัยเรียน เพื่อจะได้เพาะองค์ความรู้ ทัศนคติ และปลูกจิตสำนึกที่ดีตั้งแต่เยาว์วัย มองเห็นว่าในขณะนี้เด็กมีพฤติกรรมทางด้านสุขภาพที่มีภาวะเสี่ยง เนื่องจากบริโภคนิยมที่กินขนมประเภทแป้ง น้ำตาล ขาดกิจกรรมทางกาย ขาดทักษะชีวิต เหตุเนื่องจากสิ่งอำนวยความสะดวกที่พ่อแม่หาให้ เด็กมีความก้าวร้าว โลกส่วนตัวสูง เนื่องจากสื่อต่างๆเช่น ติดเกมส์ สื่อออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น
จากเหตุผลดังกล่าวทางชมรมตาดีกา หมู่ 6 ตากอง มองเห็นว่าถ้าได้มีการส่งเสริมจัดกิจกรรมให้เด็กๆได้มาเรียนรู้ มารวมกลุ่มทำกิจกรรมเป็นสิ่งที่ดี จึงได้จัดทำโครงการของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยงเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ ทัศนคติที่ดีในการบริโภคอาหารและสื่อออนไลน์

ร้อยละ 95 ของนักเรียนมีความรู้ ทัศนคติ ที่ดีในการบริโภคอาหารและสื่อออนไลน์ต่างๆ

90.00 86.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตและเติบโตตามพัฒนาการตามวัย อันพึงประสงค์

ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีพัฒนาการตามวัยอันพึงประสงค์

90.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/03/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมผู้ปกครอง เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ประชุมผู้ปกครอง เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมผู้ปกครอง เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่          งบประมาณ           - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 35 บาท   เป็นเงิน  1,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการประชุมตามแผนที่กำหนด
  2. เกิดเครือในการทำงานในพื้นที่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรอง ตรวจสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
คัดกรอง ตรวจสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรอง ตรวจสุขภาพเบื้องต้น
        งบประมาณ         - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ (เครื่องชั่งนน. ที่วัดส่วนสูง สายวัด ฯลฯ)   เป็นเงิน  2,680 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. พบเด็กที่มีภาวะโภชนาการผิดปกติ
  2. มีข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาด้านโภชนาการในเด็กและแก้ปัญหาในกลุ่มเด็กที่มีปัญหา
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2680.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ เรื่อง “การส่งเสริมโภชนาการและสื่อออนไลน์ที่ถูกต้องในเด็กวัยเรียน”            งบประมาณ            - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 60 คน x 60 บาท          เป็นเงิน  3,600 บาท            - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๖๐ คน x 35 บาท x 2 มื้อ   เป็นเงิน  4,200 บาท            - ค่าวิทยากรจำนวน  4 ชม. x 600 บาท                                เป็นเงิน  2,400 บาท
           - ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ 1 ผืน                                 เป็นเงิน    720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้น
  2. กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติที่ดีขึ้น
  3. นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับกลับไปเผยแพร่ที่บ้าน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10920.00

กิจกรรมที่ 4 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(กลุ่มที่มีภาวะซีดหรือค่า BMI ผิดปกติ อย่างใกล้ชิด) พร้อมติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตรวจความซีด 2 เดือน ครั้ง            งบประมาณ            - ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีข้อมูลเพื่อที่จะแก้เฉพาะจุดในรายที่มีปัญหาด้านโภชนาการ หรือการเจรฺิญเติบโต พัฒนาการตามวัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขยับกาย

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขยับกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขยับกาย ขณะอยู่โรงเรียนและเลิกเรียน การออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งๆละไม่น้อยกว่า 30 นาที และส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาเฝ้าระวังโรคติดต่อ เช่น การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย การเก็บขยะมูลฝอยซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพาหะนำโรคในบริเวณที่สาธารณะของหมู่บ้านเพื่อสร้างจิตสำนึก ในการที่ต้องดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง            งบประมาณ            - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ที่ต้องใช้ในกิจกรรม (ลูกฟุตบอล วอลเล่บอล แบตมินตัน ฯลฯ)  เป็นเงิน  5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการรวมตัวเพื่อทำกิจกรรมในการเคลื่อนไหว ขยับกาย อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง และมีจิตใจที่ดี มีพัฒนาการในการเติบโตที่ดี
  2. นักเรียนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่ติดเกมส์ โทรศัพท์หรือออนไลน์ต่างๆ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
1. ประชุมผู้ปกครอง เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่
2. คัดกรอง ตรวจสุขภาพเบื้องต้น ตรวจความซีด ค่า BMI (2 เดือนครั้ง)
3. อบรมให้ความรู้ เรื่อง “การส่งเสริมโภชนาการและสื่อออนไลน์ที่ถูกต้องในเด็กวัยเรียน”
4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(กลุ่มที่มีภาวะซีดหรือค่า BMI ผิดปกติ อย่างใกล้ชิด) พร้อมติดตามอย่างต่อเนื่อง
5. ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขยับกาย กิจกรรมจิตอาสาดูแลสิ่งแวดล้อม เช่น การเฝ้าระวังไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรคติดต่อต่างๆ การพัฒนาทำความสะอาดในที่สาธารณะของหมู่บ้าน การดูแลสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ การคัดแยกขยะเพื่อลดปริมาณขยะในพื้นที่ เป็นต้น
6. สรุปและประเมินผลโครงการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและเยาวชนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมและเข้าร่วมกิจกรรม ไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองในการเฝ้าระวัง ควบคุมโรคหรือภัยสุขภาพต่างๆ และเผยแพร่แก่คนในครอบครัวได้
2. เด็กและเยาวชนมีทัศนคติที่ดี และเติบโตตามพัฒนาการตามวัย อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
3. นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง สมส่วน พัฒนาการตามวัย
4. เด็กและเยาวชนรักการออกกำลังกาย
5. เกิดความรัก ความสามัคคี ในการอยู่ร่วมกัน
6. เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์


>