2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การปฏิรูประบบสุขภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ส่งผลให้มีการจัดทำพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ โดยสาระสำคัญที่ประชาชนจะได้รับ คือ ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ การเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างเป็นธรรม ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าไม่ถึงการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียง ผู้พิการ เป็นต้น ประกอบกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้เตียงรองรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลมีจำนวนไม่เพียงพอ กรมการแพทย์จึงมีนโยบายสนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์ที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Personal–based Medical Services) เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาวะที่ดี ลดจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและครอบครัวโดยเฉพาะผู้ป่วยที่จำเป็นต้อง ได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน (Inpatient) การดำเนินการให้บริการในรูปแบบผู้ป่วยในที่บ้าน หรือ การดูแลเสมือนโรงพยาบาลที่บ้าน (Hospital care at home) เป็นการให้บริการการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยในที่ใช้บ้านเป็นหอผู้ป่วย ซึ่งมีมาตรฐานการดูแลเทียบเคียงผู้ป่วยในของโรงพยาบาล (IPD) ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานของแต่ละวิชาชีพ รวมถึงได้รับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น สำหรับการดูแลรักษาตามแนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward)
ในปีงบประมาณ 2568พบว่าประชาชนในพื้นที่ตำบลควนเมา 15 หมู่บ้านมีความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไตวาย ฯลฯ เพิ่มขึ้นทุกปีปี 2567 จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน 457 คน และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 906 คน ซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในด้วยโรคภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) และภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ (uncontrolled hypertension)คิดเป็นร้อยละ 1.76
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลรัษฎาได้เห็นถึงความสำคัญของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุและวัยทำงาน เมื่อเกิดความเจ็บป่วยและต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและผู้ดูแล ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และด้านเศรษฐกิจ ทางโรงพยาบาลรัษฎา จึงจัดทำ โครงการ ดูแลรักษาผู้ป่วยแบบ Home ward ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อลดภาระการเดินทางของผู้ป่วยและญาติลดอัตราการครองเตียง และลดความแออัดภายในโรงพยาบาล
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. เป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วยในการรับบริการแบบผู้ป่วยในที่บ้าน เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตระหว่างการรักษา ลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนโรงพยาบาล และลดค่าใช้จ่ายในการเฝ้าผู้ป่วยที่โรงพยาบาล
2. ลดอัตราการครองเตียง ลดความความแออัดในโรงพยาบาล
3. ผู้ดูแลเกิดทักษะความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว