2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
จากสถานการณ์ปัจจุบันสภาพของสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นำไปสู่การแข่งขันของนานาประเทศ ทำให้โลกเข้าสู่ขบวนการโลกาภิวัฒน์ (Globalization) อันเป็นการพัฒนา สู่โลกที่ไร้พรมแดน โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางอาชีพจากภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรมการประกอบอาชีพได้เปลี่ยนหันไปทำงานโรงงานหรือบริษัทในตัวเมือง ต่างจังหวัดและประเทศใกล้เคียงอย่าง มาเลเซียเป็นจำนวนมาก ทำให้การเลี้ยงดูเด็กเล็กต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเด็กที่มีอายุ 0 - 72 เดือน เป็นกลุ่มที่มีความเจริญเติบโตสูงมากทั้งด้านร่างกายตลอดทั้งจิตใจและมีพัฒนาการที่สูงกว่าในวัยอื่น องค์การยูนิเซฟแห่งประเทศไทย ได้กล่าวว่า กลุ่มเด็กในจังหวัดภาคใต้มีการก้าวหน้าหลายมิติขณะเดียวกัน ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า ยังมีเด็กจำนวนมากที่กำลังเผชิญกับภาวะขาดสารอาหารซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้าย และผลการสำรวจพบว่าเป็นกลุ่มที่มีปัญหาทุพโภชนาการมากที่สุดในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็กในระยะยาว พบว่าร้อยละ 23 ของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส กำลังเผชิญกับภาวะเตี้ยแคระแกร็น (มีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์อายุ) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่ ร้อยละ 13 เกือบสองเท่า ขณะเดียวกันภาวะผอมแห้งของเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ในจังหวัดปัตตานี อยู่ที่ร้อยละ 10 เป็นที่น่ากังวลเช่นกัน(เดลินิวส์,2564) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจริญเติบโตของสมอง ทั้งนี้ต้องได้รับการดูแล ที่ดีจากครอบครัวอย่างต่อเนื่อง แต่จากการที่มารดาคลอดแล้วส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้ดูแลเด็กเองแต่จะให้ตากับยายดูแลเลี้ยงดูแทน ส่วนบิดามารดาจะไปทำงานโรงงานในตัวเมืองต่างจังหวัด หรือประเทศใกล้เคียง อย่างมาเลเซีย ทำให้ไม่สามารถเลี่ยงบุตรได้เต็มที่ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสมของเด็ก ส่งผลให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กล่าช้าได้
ในการดำเนินการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก12-72 เดือน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง ข้อมูลภาวะโภชนาการเด็ก 0- 72 เดือน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง งวดที่ 1 ปี 2563 และปี 2566 เด็กได้รับการชั่งน้ำหนักจำนวน ร้อยละ 87.61 และ ร้อยละ 94.84 ตามลำดับ และพบว่ามีน้ำหนักมากและค่อนข้างมาก กว่าเกณฑ์อยู่ที่ ร้อยละ 2.40 และ ร้อยละ2.8 ตามลำดับ น้ำหนักน้อยและค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์อยู่ที่ ร้อยละ 8.9 และ ร้อยละ 8.64 ตามลำดับ ส่วนสูงเตี้ยและค่อนข้างเตี้ยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 15.65 และ ร้อยละ 19.96 รูปร่างอ้วนและเริ่มอ้วน ร้อยละ2.17 และ ร้อยละ 2.029 ตามลำดับ รูปร่างผอมและค่อนข้างผอม ร้อยละ5.43 และ ร้อยละ 9.42 ตาลำดับ และปีงบประมาณ 2567 เด็กได้รับการชั่งน้ำหนักจำนวน ร้อยละ 87.46 และพบว่ามีน้ำหนักมาก และค่อนข้างมากกว่าเกณฑ์อยู่ที่ ร้อยละ 1.54 น้ำหนักน้อยและค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์อยู่ที่ ร้อยละ 8.79 ส่วนสูงเตี้ยและค่อนข้างเตี้ยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 21.67 รูปร่างอ้วนและเริ่มอ้วน ร้อยละ 9.70 และรูปร่างผอมและค่อนข้างผอม 4.50 จากปัญหาพบว่าส่วนใหญ่เด็ก ที่มีปัญหาโภชนาการพบว่ามีสาเหตุมาจากผู้ปกครองขาดความรู้เรื่องโภชนาการและการติดตามเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการไม่ต่อเนื่อง
เพื่อเป็นการเฝ้าระวังปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทองอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและติดภาวะโภชนาการในเด็ก 12-72 เดือน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ อย่างจริงจัง เกิดกระบวนการเยี่ยมบ้านแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้เด็กได้รับการช่วยเหลือส่งต่อทางโภชนาการ อย่างต่อเนื่อง กระตุ้นให้มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ ตลอดจนสามารถหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
2.1.เพื่อให้เด็กอายุ 12 - 72 เดือน มีน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์สูงดีสมส่วน
2.2.เด็กอายุ 12 - 72 เดือน มีน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์สูงดีสมส่วน ร้อยละ 80
2.3.เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนัก ในเรื่องโภชนาการของเด็ก
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 03/02/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?