2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพโดยรวมของร่างกาย หากสุขภาพช่องปากและฟันดีก็ย่อมส่งผลต่อการมีสุขภาพร่างกายที่ดีตามมา ซึ่งปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นอีกปัญหาที่สำคัญที่ควรได้การส่งเสริมป้องกันมากกว่าจะเน้นทางด้านการรักษาและฟื้นฟู ซึ่งใช้งบประมาณในการรักษาที่มากกว่า และปัญหาสุขภาพช่องปากของนักเรียนก็ต้องยิ่งดำเนินการ เนื่องจากเด็กนักเรียนมีฟันแท้ขึ้นมาในช่องปากผสมกับฟันน้ำนม ถ้าหากมีอาการปวดฟันผู้ปกครองอาจไม่ทราบว่าเป็นฟันแท้หรือฟันน้ำนม แต่อย่างไรก็ตามหากนักเรียนมีปัญหาสุขภาพช่องปาก ก็จะส่งผลต่อร่างกาย และพัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด และรำคาญไม่เหมาะที่จะเรียนรู้หรือเรียนไม่รู้เรื่อง
การบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากเป็นสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพสำหรับ คนทุกกลุ่มวัย แต่การเข้าถึงบริการของแต่ละกลุ่มวัย โดยเฉพาะเด็กวัยเรียนพบว่าได้รับการตรวจฟัน ไม่ถึง ร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2563 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แนวทางการดำเนินทันตสาธารณสุข ประจำงบประมาณ พ.ศ.2564 ได้เพิ่มรายการบริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคในช่องปากที่มุ่งเน้นการเข้าถึงบริการบางกลุ่มวัยเป็น การจำเพาะ (Fee schedule) ในเด็ก 4 - 12 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เพิ่มการเข้าถึงและความครอบคลุมบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากสำหรับเด็กวัยเรียนทุกสิทธิ และเพื่อลดความชุกของการเกิดโรคฟันผุในเด็กวัยเรียน ซึ่งดำเนินการโดยจัดให้มีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก และ ดำเนินการเบิกจ่ายค่าชดเชยบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่ บริการทา/เคลือบฟลูออไรด์ ในเด็กอายุ 4 - 12 ปีและบริการเคลือบหลุมร่องฟัน (เฉพาะฟันกรามถาวร ซี่ 6 และ 7) ในเด็กอายุ 6 - 12 ปี ผลการดำเนินงานปี 2563 พบว่าเด็กอายุ 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและวางแผนการรักษา ร้อยละ 49.2 (เป้าหมายรอบ6 เดือนหลัง ร้อยละ 55) โดยมีเขตสุขภาพที่มีผลงานการตรวจสุขภาพช่องปาก และวางแผนการรักษามากกว่า ร้อยละ 50 ได้แก่ เขตสุขภาพที่ 3 7 8 10 11 และ 12 เด็กอายุ 12 ปี ปราศจากฟันผุ (Caries Free)ร้อยละ 71.2 โดยมีเขตสุขภาพที่ 3 7 8 10 11 และ 12 ที่มีร้อยละเด็กอายุ 12 ปี ปราศจากฟันผุ มากกว่าร้อยละ 70 (ร้อยละการตรวจฟันมากกว่าร้อยละ 55) สิ่งแวดล้อมและปรับพฤติกรรมลดการบริโภคอาหารที่เป็นอันตรายต่อทันตสุขภาพสำหรับนักเรียนที่ฟันแท้ผุไปแล้วและสามารถรักษาด้วยการอุดฟันได้ บุคลากรฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขา จะมีการลงพื้นที่ให้บริการในโรงเรียน ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้สุขศึกษา การแปรงฟันที่ถูกวิธี มีการการติดตามประเมินผล และการให้บริการในสถานบริการ ได้แก่ บริการทันตกรรม (อุดฟันแท้ ,ขูดหินน้ำลาย) เพื่อให้การรักษารวมทั้งการป้องกันฟันแท้ผุโดยการเคลือบหลุมร่องฟันแท้ลึกและเคลือบฟลูออไรด์วานิชที่โรงเรียน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบบริการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพที่มีคุณภาพและครอบคลุม ร่วมกับการพัฒนาศักยภาพของเด็กในการดูแลรักษาอนามัยช่องปากของตนเองและส่งเสริมกิจกรรมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียน ชั้นอ.1 - ป.6 ได้มีความรู้ด้านทันตสุขภาพและแปรงฟันอย่างถูกวิธี
2. เพื่อตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก แก่เด็กนักเรียนชั้น อ.1 - ป.6
3. เพื่อให้นักเรียนได้รับบริการทันตกรรมที่จำเป็น (เคลือบหลุมร่องฟันแท้ลึก/อุดฟันแท้/ถอนฟัน/เคลือบฟลูออไรด์วานิช) ในสถานบริการ
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 03/02/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?