กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะในครัวเรือน เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

ธนาคารขยะบ้านเกาะหม้อแกง

1. นางสาวนูรีซัน เจ๊ะมิง ตำแหน่ง ประธานธนาคารขยะบ้านเกาะหม้อแกง
2. นางสาวนิอำเราะห์ หามะ ตำแหน่ง รองประธานธนาคารขยะบ้านเกาะหม้อแกง
3. นางหม๊ะซง หยีมะยิ ตำแหน่ง รองประธานธนาคารขยะบ้านเกาะหม้อแกง
4. นางสูบัยดะห์ ดอเลาะ ตำแหน่ง เลขานุการธนาคารขยะบ้านเกาะหม้อแกง
5. นางสาวรอปีอะ ดาราแมตำแหน่ง เหรัญญิกธนาคารขยะบ้านเกาะหม้อแกง

ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาหลักด้านมลพิษของประเทศไทยในปัจจุบัน เนื่องจากจำนวนของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งส่งผลให้รูปแบบการดำรงชีวิตของประชาชนจากรูปแบบชุมชนชนบทซึ่งผลิตขยะมูลฝอยเพียงเล็กน้อยต่อวัน กลายเป็นการดำรงชีวิตแบบชุมชนเมืองหรือชุมชนอุตสาหกรรม ซึ่งก่อให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยต่อวันเป็นจำนวนมาก รวมถึงข้อจำกัดด้านพื้นที่ในการกำจัดขยะมูลฝอยซึ่งในปัจจุบัน มีพื้นที่ที่จะสามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้น้อยลงทุกวัน รวมทั้งการต่อต้านจากประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย จึงส่งผลให้ความรุนแรงของปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอยรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้นแนวทางในการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของประชาชนในการจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต้องเริ่มต้นที่การจัดการกับประชาชนเป็นอันดับแรกก่อน ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนในท้องถิ่นเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยอยู่ในปัจจุบัน การให้ความรู้ความเข้าใจ การส่งเสริม และการประชาสัมพันธ์หรือการรณรงค์ให้ประชาชนมีระบบการคัดแยกขยะมูลฝอยจากครัวเรือนหรือจากแหล่งกำเนิด ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่จะช่วยให้ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อเวลา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมให้ชุมชนเกิดการคัดแยกขยะในครัวเรือนสู่ชุมชน

ประชาชนเกิดการคัดแยกขยะในครัวเรือนสู่ชุมชนตามหลัก 3Rs

75.00 70.00
2 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงที่เป็นพาหะนำโรค

แหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงที่เป็นพาหะนำโรคลดลง

70.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 45
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมวางแผนคณะกรรมการธนาคารขยะบ้านเกาะหม้อแกง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมวางแผนคณะกรรมการธนาคารขยะบ้านเกาะหม้อแกง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมสมาชิกและผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อให้มีความรู้ในการคัดแยกขยะและการทำน้ำหมักชีวภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมสมาชิกและผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อให้มีความรู้ในการคัดแยกขยะและการทำน้ำหมักชีวภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายไวนิล ขนาด 1.2 × 2.5 เมตร ๆ ละ 300 บาท               เป็นเงิน         900    บาท
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม ชุดละ 35 บาท × 45 คน × 2 มื้อ    เป็นเงิน       3,150 บาท
  • อาหารกลางวันและน้ำดื่ม ชุดละ 70 บาท × 45 คน      เป็นเงิน       3,150 บาท
  • เอกสารประกอบการอบรม จำนวน 45 อัน ๆ ละ 20 บาท  เป็นเงิน           900    บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท        เป็นเงิน        3,000  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 พฤษภาคม 2568 ถึง 21 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดความรู้ในการคัดแยกขยะในครัวเรือนสู่ชุมชนตามหลัก 3Rs

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11100.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ/วิธีการใช้/ปริมาณสัดส่วน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ/วิธีการใช้/ปริมาณสัดส่วน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม ชุดละ 35 บาท × 45 คน      เป็นเงิน       1,575 บาท
  • วัสดุอุปกรณ์สำหรับสาธิต (การทำน้ำหมักชีวภาพ)  เป็นเงิน           525    บาท
           - กากน้ำตาล
           - ถังสำหรับหมัก
           - มีด
  • ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท      เป็นเงิน        1,800  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2568 ถึง 22 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์จากขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3900.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมซื้อขายขยะ (recycle)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมซื้อขายขยะ (recycle)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการซื้อขายขยะ (recycle) เดือนละ 1 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนเกิดการคัดแยกขยะในครัวเรือนสู่ชุมชนตามหลัก 3Rs
2. ครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์จากขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพเพิ่มขึ้น
3. แหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงที่เป็นพาหะนำโรคลดลง


>