แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนอก รหัส กปท. L2996
อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1,000 วันแรกของชีวิต” ถือเป็นต้นกำเนิดของการสร้างรากฐานการมีภาวะสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิต โดยเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสทองของการสร้างทุนมนุษย์ที่สำคัญ และคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและ การเชื่อมโยงเซลล์สมองกับโครงข่ายเส้นใยประสาททำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำและมีการ เจริญเติบโตด้านร่างกายอย่างรวดเร็ว ส่วนสูงของเด็กที่อายุ 2 – 3 ปี ถือเป็น Proxy indicator ของสุขภาพ ผู้ใหญ่และเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญ แนวทางการดำเนินงาน ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วันกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้ขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรก ของชีวิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพของสตรีและเด็กปฐมวัยไทย โดยมีชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ ร่วมลงทุนและเป็นเจ้าของการขับเคลื่อนงานผ่านกลไกและมาตรการ ที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมสำคัญกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน การพัฒนาคุณภาพ งานบริการสาธารณสุข ทั้งคลินิกฝากครรภ์ (ANC) และคลินิกเด็กสุขภาพดี (WCC) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กอายุ 0 – 2 ปี ทุกคน ได้รับบริการครบถ้วนและดูแลอย่างทั่วถึง โดยไม่ทอดทิ้ง กลุ่มด้อยโอกาส และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่ายภายใต้ การบูรณาการความร่วมมือ กลุ่มเด็กปฐมวัย 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม ในการร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานดูแลส่งเสริมสุขภาพ และคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กแรกเกิด – 5 ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทยเติบโตเต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 คือ เด็กปฐมวัยทุกคน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน เต็มตามศักยภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรที่เพียงพอ จากการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก พบว่า หญิงตั้งครรรภ์มาฝากครรภ์ครบ5ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 72.09 ได้รับการเยี่ยมหลังคลอดครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ72.09หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ15เด็กอายุแรกเกิดถึง 6 เดือนได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 30.4เด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 43 เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 32.11 ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนแต่ละชนิดครบตามเกณฑ์ในเด็กอายุ 5 ปี ร้อยละ 38.3 เด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุร้อยละ 50 ดังนั้นเพื่อยกระดับคุณภาพงานบริการสาธารณสุขให้เด็กอายุ 0 – 5 ปี ทุกคน ได้รับบริการครบถ้วนและดูแลอย่างทั่วถึง เกิดความต่อเนื่อง ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก จึงได้จัดทำโครงการโครงการตำบลมหัศจรรย์ 1000 วัน สู่ 2500 วันเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ แม่หลังคลอดและเด็ก0-5 ปี มีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ พัฒนาการสมวัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมส่งต่อทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ สำหรับพัฒนาตำบล อำเภอ จังหวัดและประเทศไทยในอนาคตต่อไป
- 1. โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน สู่2,500วันแรกของชีวิต ตำบลบ้านนอก ประจำปี 2568รายละเอียด
- กิจกรรม ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการและแกนนำสุขภาพในระดับตำบลเพื่อทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงาน คืนข้อมูลสถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่ ระดมความคิดในการแก้ปัญหา วางแผนแก้ปัญหาในชุมชนเกี่ยวกับสตรีตั้งครรภ์ แม่หลังคลอด และเด็กปฐมวัย 0-6 ปี จำนวน 25 คน
- กิจกรรม อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร /แกนนำชุมชน/อสม./ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัวระดับตำบล จำนวน 70 คน เพื่อพัฒนาศักยภาพ ฟื้นฟูความรู้ด้านการดูแลหญิงตั้งครรภ์ หลังคลอด การส่งเสริมนมแม่ในชุมชน และการดูเด็กปฐมวัยทั้ง 5 ด้าน
3.กิจกรรม อบรมให้ความรู้ตามโครงการโรงเรียนพ่อแม่วิถีมุสลิมเพื่อครรภ์คุณภาพ แม่เกิดรอด ลูกปลอดภัย จำนวน 50คน - อบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก0-5 ปี จำนวน 50 คน เพื่อนำสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของบุตร สู่เด็กบ้านนอกสมาร์ทคิดส์ 5 ด้าน (พัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน วัคซีนครบตามเกณฑ์ ฟันไม่ผุ ไม่มีภาวะโลหิตจาง )จำนวน 50 คน
- ติดตามการมาฝากครรภ์ให้ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ติดตามภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ และน้ำหนักของทารกแรกคลอด
- กิจกรรมเครือข่ายชุมชนเยี่ยมบ้านหญิงหลังคลอด เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่ ประเมินภาวะสุขภาพมารดาและทารก 7.กิจกรรมเครือข่ายเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ตรวจคัดกรองภาวะซีดในเด็ก แจกยาน้ำเสริมธาตุเหล็กในเด็ก6เดือนขึ้นไป แจกวิตามินบำรุงร่างกาย และยาถ่ายพยาธิในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
- ติดตามประเมินผล
ค่าอาหารกลางวัน50บ.x25.คน=1,250 บ.
ค่าอาหารว่าง25บx2มื้อ x25คน=1,250 บ.
ค่าวิทยากร500บ.x6ชม.x 1คน =3,000 บ.
ไวนิลโครงการ ขนาด12เมตร 500บาท
ไวนิลข้อตกลงชุมชน ขนาด 22 เมตร 1000 บาท
รวม 7,000 บาท
ค่าวิทยากร 500บ.6ชม.1คน =3,000 บ.
ค่าอาหารกลางวัน50บ.x70.คน =3,500 บ.
ค่าอาหารว่าง25บx2มื้อ x70คน =3,500 บ.
รวม 10,000 บาท
ค่าวิทยากร500บ.x6ชม.x 1คน =3,000 บ.
ค่าอาหารกลางวัน50บ.x50.คน =2,500 บ.
ค่าอาหารว่าง25บx2มื้อ x50คน =2,500 บ.
รวม 8,000 บาท
ค่าวิทยากร500บ.x6ชม. x 1คน =3,000 บ.
ค่าอาหารกลางวัน50บ.x50.คน =2,500 บ.
ค่าอาหารว่าง25บx2มื้อ x50คน =2,500 บ.
รวม 8,000 บาท
เครื่องชั่งน้ำหนักพร้อมที่วัดส่วนสูง เครื่องละ1300 บาท จำนวน 15 เครื่อง
รวม 19,500 บาท
งบประมาณ 52,500.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 2 มกราคม 2568 ถึง 30 กรกฎาคม 2568
ตำบลบ้านนอก
รวมงบประมาณโครงการ 52,500.00 บาท
หมายเหตุ : วันที่และเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 5 ครั้งตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80
2.มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอดตามเกณฑ์ร้อยละ 90
3. หญิงมีครรภ์และครอบครัวมาเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ มากกว่าร้อยละ 80
4.ผู้ปกครองเด็ก 0-5ปีมาร่วมกิจกรรมการอบรมและมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเด็กทั้ง5ด้านเพิ่มขึ้น
5.เกิดความร่วมมือผ่านภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน
แกนนำสุขภาพในชุมชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก 0-5 ปี
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนอก รหัส กปท. L2996
อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนอก รหัส กปท. L2996
อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................