กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารและผูสัมผัสอาหาร

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะยอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารและผูสัมผัสอาหาร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะยอ

องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ

ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามสถานการณ์ในปัจจุบันตำบลเกาะยอ มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จากอดีตที่มีการจัดหาวัสดุอาหารมาดำเนินการปรุงการประกอบอาหารเองที่บ้านหรือในครัวเรือน ในปัจจุบันตำบลเกาะยอมีการจัดตั้งร้านอาหาร ขนาดใหญ่พื้นที่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป จำนวน 26 ร้าน และร้านแผงลอย ขนาดพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร จำนวน 39 ร้าน จำหน่ายอาหารไว้บริการ อาหารปรุงสำเร็จ แก่ประชาชนสะดวกต่อการเลือกซื้อเพื่อการบริโภคทั้งในครัวเรือน หรือการจัดเลี้ยงอาหารในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ดังนั้น การควบคุม ดูแลให้การประกอบกิจการ การจัดบริการอาหารโดยสถานประกอบการด้านอาหารเป็นไปอย่างเหมาะสมเน้นความสะอาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค จึงเป็นงานสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนายกระดับสถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในสถานประกอบการ ร้านอาหาร และแผงลอย จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องดำเนินการ งานสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ ร่วมกับหน่วยงานศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา/สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา/สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสงขลา,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนเรียน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าไทร จึงได้จัดทำ “โครงการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร” ปีงบประมาณ 2568 เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เพื่อติดตามกำกับ ดูแล สถานประกอบการและสถานที่จำหน่ายอาหารให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด ความสะอาด และปลอดภัย ทำให้ประชาชนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีและยกระดับมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารและอนามัยสิ่งแวดล้อม ภายใต้ชีวิตปกติใหม่ ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในพื้นที่ตำบลเกาะยอ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารมีความรู้ในด้านการสุขาภิบาลอาหาร

ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารมีความรู้ในด้านการสุขาภิบาลอาหาร

26.00 26.00
2 เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานที่จำหน่ายอาหาร ภายใต้ชีวิตปกติใหม่ให้มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐาน ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ

ยกระดับมาตรฐานด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานที่จำหน่ายอาหาร ภายใต้ชีวิตปกติใหม่ให้มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐาน ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ

26.00 26.00
3 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นความปลอดภัยด้านสุขาภิบาลอาหารและอนามัยสิ่งแวดล้อม

สร้างความเชื่อมั่นความปลอดภัยด้านสุขาภิบาลอาหารและอนามัยสิ่งแวดล้อม

26.00 26.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 สำรวจจำนวนร้านอาหารในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 สำรวจจำนวนร้านอาหารในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าทำป้ายไวนิล กว้าง 1.20 เมตร ยาว 2.40 เมตร จำนวน 1 ผืน ๆ ละ 360 บาท  เป็นเงิน 360 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในวันประชุมเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทาง  ในการดำเนินงาน มื้อละ 25 บาท x 1 มื้อ x 15 คน  เป็นเงิน 375 บาท รวมเป็นเงิน 735 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชุมเจ้าหน้าที่่ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
735.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้และสาธิตให้ผู้ประกอบกิจการร้านจำหน่ายอาหารและผู้สัมผัสอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้และสาธิตให้ผู้ประกอบกิจการร้านจำหน่ายอาหารและผู้สัมผัสอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสมุด ปากกา จำนวน 52 ชุด ๆ ละ 25 บาท  เป็นเงิน  1,300 บาท
  • ค่าเอกสารคู่มือประกอบการอบรม จำนวน 52 ชุด ๆ ละ 30 บาท  เป็นเงิน 1,560 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท x 2 มื้อ x 62 คน  เป็นเงิน 3,100 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม มื้อละ 60 บาท 62 คน  เป็นเงิน 3,720 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงครึ่ง ชั่วโมง ละ 600 บาท  เป็นเงิน 3,900 บาท
  • ค่าจัดจ้างทำใบประกาศนียบัตร จำนวน 52 แผ่น ๆ ละ 30 บาท/แผ่น  เป็นเงิน 1,560 บาท รวมเป็นเงิน 15,140 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อบรมให้ความรู้และสาธิตให้ผู้ประกอบกิจการร้านจำหน่ายอาหารและผู้สัมผัสอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15140.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่ตรวจร้านอาหารและแผงลอย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่ตรวจร้านอาหารและแผงลอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าน้ำยาตรวจ Coliform Bacteria (โคลิฟอร์มแบคทีเรีย) (SI-2) ในการทดสอบ จำนวน 26 ร้าน 9 ขวด/ร้าน จำนวน 5 กล่อง ๆ ละ 1,300 บาท  เป็นเงิน 6,500 บาท
  • ค่าน้ำยาตรวจ โคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง (อ.11) ในการทดสอบ จำนวน 26 ร้าน ๆ ละ 2 ขวด จำนวน 3 กล่อง ๆ ละ 1,150 บาท  เป็นเงิน 3,450 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท/วัน ๆ ละ 2 มื้อ จำนวน 7 วัน 10 คน  เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม มื้อละ 60 บาท/วัน ๆ ละ 1 มื้อ จำนวน 7 วัน 10 คน  เป็นเงิน 4,200 บาท
  • ค่าทำป้าย การประเมินมาตรฐานสถานประกอบการด้านอาหารตามมาตรฐาน SAN & SAN Plus จำนวน 26 ป้าย ๆ ละ 250 บาท  เป็นเงิน 6,500 บาท   
  • ค่า Alcohol 95% (แอลกอฮอล์) ขนาด 450 ml (จุดตะเกียง) จำนวน 2 ขวด ๆ ละ 195 บาท  เป็นเงิน 390 บาท
  • สติ๊กเกอร์ฉลากสีขาวเอาไว้ติดขวด 1 ม้วน ๆ ละ 200 บาท  เป็นเงิน 200 บาท
  • ค่าไม้พันสำลีหรือสำลีก้าน Sterile (ปลอดเชื้อ) จำนวน 2 ห่อ ๆ ละ 535 บาท  เป็นเงิน 1,070 บาท
  • ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นในการทำโครงการ  เป็นเงิน 765 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  26,575 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลงพื้นที่ตรวจร้านอาหารและแผงลอย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26575.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหาร มีความรู้ ความเข้าใจในด้านการสุขาภิบาลอาหาร
2.ร้านจำหน่ายอาหาร มีการพัฒนาปรับปรุงตามเกณฑ์มาตรฐาน SAN&SAN Plus
3.ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร


>