กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการครอบครัวอบอุ่น วัยรุ่นวัยใส เข้าใจเรื่องสุขภาพกายและใจ ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

ชมรมรักสุขภาพตำบลยะหา
1…นางฮาบีเบาะ……มะมิง…………………
2…นางมายุรี……เกษธิมา………………………….
3…นางรอมือละห์……จินตรา……………………………
4…นางแวนะ……ซือรี………………………………………
5…นางสูไวบ๊ะ……มะสะ………………………

พื้นที่ตำบลยะหาหมู่ที่ 1 2 3 6 เเละ9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหา “วัยรุ่น” เป็นวัยที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้มากที่สุดวัยหนึ่งซึ่งแสดงออกเป็นปัญหาพฤติกรรมได้หลายประการ เช่นดื้อไม่เชื่อฟังละเมิดกฎเกณฑ์กติกาต่างๆมีแฟนและมีเพศสัมพันธุ์ใช้ยาเสพติดทำผิดกฎหมายปัญหาพฤติกรรมบางอย่างมักเกิดขึ้นมานาน จนทำให้การแก้ไขมักทำได้ยากการป้องกันปัญหาจึงมีความจำเป็นและสำคัญมากกว่าการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วการป้องกันดังกล่าวควรเริ่มตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพจิตตั้งแต่เด็กเด็กที่มีพัฒนาการของบุคลิกภาพดี จะมีภูมิต้านทานโรคทางจิตเวชต่างๆ และช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่นได้อย่างมากเช่นกันพ่อแม่และครูอาจารย์และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กทั้งหลายจึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพจิตตั้งเด็กจนถึงวัยรุ่นเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ "สภาพจิตใจที่เป็นสุข สามารถมี สัมพันธภาพและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่นไว้ได้อย่างราบรื่น สามารถทำตนให้เป็นประโยชน์ได้ ภายใต้ภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคม และลักษณะความเป็นอยู่ในการดำรงชีพ วางตัวได้อย่างเหมาะสม ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิต สังคมและสิ่งแวดล้อมก็ควรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและวัยรุ่นเช่นเดียวกัส่วนหนึ่งของปัญหามาจากการเปิดกว้างอย่างไร้การควบคุมของการสื่อสารและเทคโนโลยี ทำให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงสื่อต่างๆได้อย่างไม่จำกัด รวมทั้งผู้ปกครองเอง ไม่มีเวลาดูแลหรือขาดความสามารถในการดูแลเนื่องจากไม่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีรวมทั้งขนบธรรมเนียม ของท้องถิ่นเองที่มองเรื่องเพศเป็นเรื่องน่าอาย ทำให้ครอบครัวไม่สามารถให้การดูแลให้คำปรึกษาได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้น
ทั้งนี้ ชมรมรักสุขภาพตำบลยะหาได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ “โครงการครอบครัวอบอุ่น วัยรุ่นวัยใส เข้าใจเรื่องสุขภาพกายและใจ ปี 2568” ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ทราบถึงปัญหาและผลกระทบของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

1.ร้อยละ 80 ของประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเด็กและวัยรุ่นได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพกายใจ เพศศึกษาและการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องสุขภาพกายใจและเพศศึกษา

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และวิธีการคุมกำเนิด - แบ่งกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้กรอบแนวคิด “วัยรุ่น” ครอบครัว ชุมชน ช่วยแก้ไขปัญหาท้องก่อนวัยอันควรได้อย่างไร

ชื่อกิจกรรม
1. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และวิธีการคุมกำเนิด - แบ่งกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้กรอบแนวคิด “วัยรุ่น” ครอบครัว ชุมชน ช่วยแก้ไขปัญหาท้องก่อนวัยอันควรได้อย่างไร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(1)ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท (2) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50บาทเป็นเงิน2,000 บาท (3) ค่าวัสดุ (สมุด ปากกา กระดาษ ปากกา ปากกาเคมี แฟ้มเอกสาร ) 40ชุด× 40บาทเป็นเงิน 1,600 บาท (4) ค่าป้ายไวนิล 1 ป้าย × 3 เมตร เป็นเงิน 800 บาท (4) ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน × 300 บาท ×6 ชม.× 1วันเป็นเงิน1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ให้ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย สุขภาพกายใจ และวิธีการคุมกำเนิด ผลลัพธ์ กลุ่มเด็กและวัยรุ่นได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพกายใจ  เพศศึกษาและการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8200.00

กิจกรรมที่ 2 2.อบรมให้ความความรู้ในแกนนำผู้ปกครองและ แกนนำสุขภาพ - สัมพันธภาพที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
2.อบรมให้ความความรู้ในแกนนำผู้ปกครองและ แกนนำสุขภาพ - สัมพันธภาพที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(1)ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท (2) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50บาทเป็นเงิน2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต เเกนนำสุขภาพเข้าร่วมกันรณรงค์เพื่อสร้างชุมชนให้เข็มเเข็ง ผลลัพธ์ วัยรุ่นมีความรู็สึกเกิดคุณค่าในตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราการตั้งครรภ์ในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่เกินร้อยละ 10 (เปรียบเทียบกับข้อมูลการฝากครรภ์ที่หน่วยบริการศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองยะหา)
2.ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึ่งพอใจในโครงการร้อยละ 80


>