กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก ศพด. บ้านสำนักวา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักวา

-

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักวา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กอายุ 2-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักวาที่มีภาวะผอม

 

12.00
2 จำนวนเด็กอายุ 2-5 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักวาได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

 

45.00

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพ่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well - being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญ และเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลียนแปลงด้วย ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในเด็กอายุ ระหว่าง 0 - 72 เดือน ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย โภชนาการเกิน ปัญหาสุขภาพช่องปาก และพัฒนาการที่ไม่สมวัยของเด็ก โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง และการให้เด็กบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมกับช่วงวัย ซึ่งการดำเนินงานแก้ไขปัญหาจะเป็นเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักวาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมอง และร่างกายเหมาะสมตามวัย เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก ศพด. บ้านสำนักวา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาเด็กอายุ 2-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักวาที่มีภาวะผอมให้ลดลง

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจ ประเมิน สุขภาพและภาวะโภชนาการทุกคน

12.00 10.00
2 เพื่อดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้แก่เด็กอายุ 2-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักวา

กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันทุกคน

45.00 45.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 45
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 02/06/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจ ประเมิน และบันทึกสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
สำรวจ ประเมิน และบันทึกสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1จัดทำบันทึกสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เด็กทุกคน2.สำรวจบันทึกข้อมูลการรับประทานอาหารกลางวัน3.ประเมินผลภาวะโภชนาการของเด็กแต่ละคน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการบันทึกข้อมูลสุขภาพเด็กทุกคน/ทราบข้อมูลด้านโภชนาการ และปัญหาของเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการ และปัญหาของเด็ก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการ และปัญหาของเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการสำหรับเด็ก ให้แก่ผู้ปกครอง จำนวน 45 คน และกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาด้านพัฒนาการและโภชนาการเด็กงบประมาณ - ค่าว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 45 คนๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,250 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 45 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท - ค่าตอบแทนวิทยาการ จำนวน 6 ชม.ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองเข้าร่วมอบรมทุกคน (/ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ รับทราบภาวะโภชนาการและพัฒนาการของบุตรหลานรวมทั้งแนวทางแก้ไข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6300.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟัน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เจ้าหน้าที่ รพ.ศรีบรรพต ตรวจ/บันทึกสุขภาพช่องปากเด็กก่อนทำการรักษา
  2. ทาฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุให้เด็กเล็ก โดยเจ้าหน้าที่ รพ.ศรีบรรพต
  3. บริการทันตกรรมในเด็กที่มีปัญหาโรคในช่องปาก งบประมาณ
    • ค่าวัสดุทันตกรรมฟลูออไรด์ 3 หลอดๆ ละ 700 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
    • ค่าวัสดุสีเหมือนฟัน จำนวน 1 หลอดๆ ละ 4,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
    • ค่าแปรงทาฟลูออไรด์ จำนวน 2 กล่องๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท
    • ค่ากระดาษเช็ดพื้นผิว จำนวน 5 กระปุกๆ ละ 260 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กได้รับการส่งเสริมสุขภาพทางทันตสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
2. เด็กมีฟันน้ำนมผุ ลดลง 3. เด็กมีอัตราฟันดี และได้รับการรักษาฟันผุเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7700.00

กิจกรรมที่ 4 การจัดอาหารเสริม นม ไข่ เพื่อแก้ปัญหาเด็กภาวะผอม เตี้ย

ชื่อกิจกรรม
การจัดอาหารเสริม นม ไข่ เพื่อแก้ปัญหาเด็กภาวะผอม เตี้ย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอาหารเสริม นม ไข่ และผลิตภัณฑ์ถั่ว ให้กับเด็กที่มีภาวะผอม และเตี้ย ตกเกณฑ์ จำนวน 3 เดือน/คน และดำเนินการประเมินภาวะโภชนาการซ้ำเมื่อครบ 3 เดือน จัดชุดอาหารเสริม ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ถั่ว จำนวน 12 ชุดๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กที่มีภาวะโภชนาการได้รับการแก้ไขโดยอาหารเสริม/เด็กที่มีภาวะโภชนาการได้รับการแก้ไขโดยอาหารเสริมนมจนมีสถานการณ์โภชนาการที่ดีขึ้น ร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กอายุ 2-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักวาที่มีภาวะผอมลดลง
2. เด็กอายุ 2-5 ปี ในศุนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักวาได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันทุกคน


>