กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมการดูแลสุขกาย สุขภาพใจ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่เดือนรอมฎอน ฮ.ศ.1446

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

ชมรมอิหม่าม ตำบลนาทอน

1. นายอมาตย์ ลิมานัน
2.นายหมัด ไมมะหาด
3.นายวิรัช มานะกล้า
4.นายบูหนัน หมัดดาเร๊ะ
5. นายสอาด เอียดรามา

มัสยิดบ้านช่องไทร หมู่ที่ 3 ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ชมรมอิหม่ามคณะกรรมการมัสยิดตำบลนาทอนอำเภอทุ่งหว้าจังหวัดสตูลมีความห่วงใย ต่อการบริโภคอาหารและทานยารักษาโรคให้ปลอดภัยในช่วงเทศกาลถือศีลอดเดือนรอมฎอนเนื่องจากเป็นช่วงที่พี่น้องชาวมุสลิมเข้าสู่เทศกาลถือศีลอดซึ่งถือว่าเป็นเดือนแห่งความประเสริฐ ความดีงามเดือนแห่งความอดทนเพื่อปฏิบัติตามวิถีมุสลิมในการละเว้นการบริโภคอาหารเป็นระยะเวลา 1 เดือน และเป็นการยึดหลักความเสมอภาคกันเทศกาลถือศีลอดทำให้วิถีชีวิตของชาวมุสลิมในการบริโภคที่ปรับเปลี่ยนไป โดยจะมีการบริโภคอาหารหลัก 2 เวลาคือมื้อแรกก่อนรุ่งอรุณและมื้อสองหลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าเพื่อดำเนินกิจกรรมตามหลักศาสนาเช่น การปฏิบัติตนการชำระร่างกายตามแนวหลักซุนนะฮฺเสริมอีหม่านเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ การเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การบริโภคอาหารก่อนละศีลอด เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงลดการเจ็บป่วยในเรื่องการดูแลสุขภาพของพี่น้องมุสลิมที่ปฏิบัติศาสนกิจในช่วงเดือนรอมฎอนซึ่งถือว่าเป็นเดือนแห่งความประเสริฐความดีงามเดือนแห่งความอดทน เพื่อปฏิบัติตามวิถีมุสลิม ในการละเว้นการบริโภคอาหาร เป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งอาจจะเกิดโรคขึ้นได้ในช่วงการถือศีลอด เช่นโรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจาระร่วงอย่างรุนแรงเป็นต้น ในการนี้เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพรวมถึงการรับประทานยารักษาโรคต่างๆของพี่น้องชาวมุสลิมเพื่อให้ปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างครบถ้วนสมบรูณ์ช่วงดังกล่าวจึงแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพในเดือนรอมฎอน เพื่อระบบสุขภาพที่ดี จึงเป็นบทบาทของทุกคนที่จะให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจความพร้อมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารก่อนและหลังการละศีลอดที่ถูกต้อง

ร้อยละ 90  ของผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจความพร้อมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารก่อนและหลังการ    ละศีลอดที่ถูกต้อง

0.00 0.00
2 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจในเดือนรอมฎอน

ร้อยละ 85  ของผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพร่างกายในเดือนรอมฎอน

0.00
3 3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการของศาสนา ได้ฝึกฝนความอดทน ได้รู้จักการให้ สร้างความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน

ร้อยละ 80  ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการของศาสนา ได้ฝึกฝนความอดทน  ได้รู้จักการให้ สร้างความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน

0.00
4 4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาในช่วงเดือนรอมฎอน

ร้อยละ 95  ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาในช่วงเดือนรอมฎอน

0.00

5. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้ความเข้าใจการดูแลสุขภาพในช่วงเดือนรอมฎอน และติดตามการดูแลสุขภาพ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจ เพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่เดือนรอมฎอน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจ เพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่เดือนรอมฎอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมทีมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อวางแผนดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพใจในเดือนรอมฎอน ประจำปีฮ.ศ.1446
2.เสนอโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ
3.ดำเนินการตามโครงการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพใจในเดือนรอมฎอน ประจำปี ฮ.ศ. 1446 4.เชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการอบรม 5.วิทยากรบรรยายความประเสริฐของเดือนรอมฎอน 6.วิทยากรบรรยายการถือศีลอดกับหลักโภชนาการ
7.วิทยากรบรรยายการดูแลสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยในระหว่างถือศีลอด 8.วิทยากรบรรยายเรื่องท้องถิ่นกับการส่งเสริมศีลธรรมอันดีของประชาชน 9.ติดตามประเมินผล/สรุป/รายงานผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,500.00 บาท

หมายเหตุ :
1. ค่าป้ายโครงการจำนวน1 ป้าย เป็นเงิน500 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันจำนวน1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน150 คน เป็นเงิน 7,500 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน150 คน เป็นเงิน 7,500 บาท
4. ค่าวัสดุ – อุปกรณ์ (ปากกา สมุด เอกสาร กระเป๋า) จำนวน150 ชุดๆละ 80 บาท
เป็นเงิน12,000 บาท
5. ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 300 บาทจำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,500 บาท
6. ค่าวัสดุอื่นๆเป็นเงิน 4,000 บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจความพร้อมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารก่อนและหลังการละศีลอดที่ถูกต้อง
2.ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพร่างกายในเดือนรอมฎอน
3.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการของศาสนา ได้ฝึกฝนความอดทน ได้รู้จักการให้ สร้างความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน 4.เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยในระหว่างถือศีลอด
4. ผู้เข้าอบรมมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงในการปฏิบัติศาสนกิจ


>