2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันโรคปวดเข่าหรือโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ เป็นโรคหนึ่งที่เป็นปัญหาสุขภาพสำคัญระดับโลก องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยกระดูกและข้อเพิ่มขึ้นเป็น 570 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2563 ปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ จากการศึกษา พบว่ามีผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า ร้อยละ 43.9 โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาสุขภาพและปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เช่นกัน เนื่องจากก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน เป็นอุปสรรคในการเข้าสังคม ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่ต้องรับประทานยากลุ่มNSAIDs เพื่อใช้บรรเทาอาการปวด ซึ่งยากลุ่มจะทำให้ผู้สูงอายุเกิดความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคอื่นๆตามมา เช่น โรคกระเพาะอาหาร โรคไต สาเหตุของการเจ็บป่วย เกิดจาก 1.อายุมากมีโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมมาก เนื่องจากอายุการใช้งานข้อเข่ามาก พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 2-3 เท่า 2. คนที่มีรูปร่างอ้วน มีโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมมากกว่าคนผอม 3. การใช้งาน และท่าทาง ในการทำกิจกรรมที่ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ยกของหนัก นั่งพับเพียบ 4. โครงสร้างเข่าผิดรูปตั้งแต่กำเนิด เช่น เข่าโก่ง 5. เคยประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับข้อเข่า 6.โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ , เก๊าท์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากล่อ พบว่ามีผู้สูงอายุที่เป็นโรคปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อมเข้ารับบริการรักษาเพิ่มขึ้นทุกปี จากการสำรวจข้อมูล ปีงบประมาณ 2562 พบว่า มีผู้ป่วยเป็นโรคปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม จำนวน 78 ราย เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 32 ราย ใช้ยากลุ่มNSAIDs ในการรักษา (ร้อยละ 81 ) (ฐานข้อมูลเวรสถิติ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพปากล่อ) จากสภาพปัญหาดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปากล่อ จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการพอกเข่าด้วยสมุนไพรสูตรเย็นในผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแทนการใช้ยากลุ่มNSAIDs สำหรับทางการแพทย์แผนไทย มีสูตรยาสมุนไพรหลายขนานที่สามารถนำมาช่วยลดอาการปวด บวม อักเสบ ของข้อเข่าได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเสริมการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้เป็นอย่างดี โดยการพอกเข่าสมุนไพรสูตรเย็นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม เพราะมีความสะดวก ปลอดภัยและใช้ต้นทุนต่ำ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์สมุนไพรที่มีในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถผลิตยาพอกเข่าได้ด้วยตนเอง
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/11/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ผู้สูงอายุได้รับความรู้เรื่องโรคในช่องปากและการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง
2.ผู้สูงอายุสามารถพอกเข่าตนเองได้
3.ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากทุกคน
4.ผู้สุงอายุมีสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจที่ดีขึ้น