กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสมหวัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพดิจิทัล (Digital Health Station) หมู่ที่ 4 บ้านหวัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสมหวัง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวัง

1. นางจีราภรณ์เหมริหนี
2. นายประคอง ขาวขำ
3. นายสมใจชูสุวรรณ์
4. นางสาวกาญจนาดำชื่น
5. นางสาวศิรินญานวนไหม

หมุ่ที่ 3, 4 ตำบลสมหวัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุการเสียชีวิต ๒ ใน ๓ ของประชากรไทย ส่งผลต่อ ทั้งด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ อีกทั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงสองทศวรรษ ที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยหลายด้านตั้งแต่ การจัดบริการคัดกรองไม่ทั่วถึง และประชาชนขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการและองค์ความรู้ในการจัดการตนเอง ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด - 19 กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายลดความแออัดในสถานพยาบาล ทำให้เกิดนวัตกรรมการให้บริการ คัดกรองและติดตามภาวะความดันและน้ำตาลในเลือดนอกสถานพยาบาล มีสมุดบันทึกข้อมูลสุขภาพออนไลน์ด้วย Application บนมือถือของประชาชน และเชื่อมต่อข้อมูลกับสถานพยาบาล โดยมีสถานที่ตั้งให้บริการอยู่ในชุมชน มีชื่อเรียกว่า สถานีสุขภาพดิจิทัล (Digital Health Station) ซึ่งหมายถึง สถานที่สำหรับ ให้บริการตรวจสุขภาพด้วยตนเองของประชาชนทุกกลุ่มวัย ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอดเวลาเมื่อมีความต้องการตรวจเช็คสุขภาพของตนเอง และ เป็นช่องทางในการสื่อสารความเสี่ยงสุขภาพผ่าน Platform Digital
โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๔ บ้านหวัง มีความคาดหวังว่าจะช่วยลดอัตราการป่วย และการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อลงได้ จึงได้เขียนโครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health Station ขึ้น ในหมู่ที่ ๔ บ้านหวัง ตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนในหมู่บ้าน เข้าถึงคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น เพิ่มขึ้น

ประชาชนในหมู่บ้าน เข้าถึงคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น มากกว่าร้อยละ 50

80.00 60.00
2 ประชาชนในหมู่บ้านที่ใช้บริการสถานีสุขภาพดิจิทัลสุขภาพดีขึ้น

ร้อยละของผู้ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพลดลง

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่รับผิดชอบ    (รพ.สต. อบต.) อสม. ผู้นำชุมชนและประชาชนในชุมชน จำนวน 30 คน จำนวน 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคณะทำงานจากทุกภาคส่วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน และร่วมจัดหาสถานที่ เครื่องมือ และมีอุปกรณ์พื้นฐาน ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินงาน
- ประชุมวางวางแผนการดำเนินงาน และประชาสัมพันธ์โครงการ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน จำนวน 2 ครั้ง
- จัดหาเครื่องวัดความดันโลหิต - จัดหาเครื่องชั่งน้ำหนัก - จัดหาเครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด - จัดหาที่วัดส่วนสูง - จัดหาป้ายให้ความรู้ และให้คำแนะนำในการให้บริการด้านต่างๆ
งบประมาณ
- ค่าป้ายชื่อสถานีสุขภาพ โฟมบอร์ดเป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าเครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าที่วัดส่วนสูง จำนวน 1 ตัวๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 แผ่นๆ ละ 1,000 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแผนในการดำเนินงาน มีการประสานงานและแบ่งหน้าที่กันเพื่อดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพ อสม. และประชาชน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพ อสม. และประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาศักยภาพ อสม. และประชาชน ให้สามารถใช้อุปกรณ์    การตรวจคัดกรองและใช้ Application ได้ถูกต้อง เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพลดการป่วยจาก โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 30 คน จำนวน 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม. และประชาชน สามารถใช้อุปกรณ์และใช้Application ได้ถูกต้อง มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 คัดกรองเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ คัดกรองเบื้องต้น ประกอบด้วย ดัชนีมวลกาย, รอบเอว และวัดระดับความดันโลหิต คัดกรองปัจจัยเสี่ยง การสูบบุหรี่, การดื่มสุรา และประเมินสุขภาพจิต ร่วมถึงการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ได้รับการคัดกรองเบื้องต้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามกลุ่มเสี่ยง และให้คำแนะนำในการจัดการความเสี่ยงสุขภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตาม และให้คำแนะนำในการจัดการความเสี่ยงสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เช่น กิจกรรมลุกขึ้นมาวิ่ง (เช้า/เย็นของทุกวัน) เต้น รำ กีฬา ออกกำลังกายอื่น ๆ เป็นต้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 ประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลโครงการหลังเสร็จกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการคืนข้อมูลด้านสุขภาพให้กับประชาชนในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในหมู่บ้าน เข้าถึงคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพิ่มขึ้น
2. ประชาชนในหมู่บ้านที่ใช้บริการสถานีสุขภาพดิจิตัล สุขภาพดีขึ้น
3. อัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลดลง


>