กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หมู่ที่ 10 บ้านท่าด่าน ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

อสม.หมู่ที่ 10 บ้านท่าด่าน

1. น.ส.เพ็ญลักษณ์ แก้วพิทักษ์
2. นางกนกวรรณ รักจันทร์
3. นางประทิน ณะสงค์
4. นางชฎารัตน์ ไชยแก้ว
5. นางผอูนรัตน์ เพ็ชรรัตน์

ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 10 บ้านท่าด่าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เร่งด่านของประชาชนที่ต้องได้รับการแก้ไข นอกจากโรคติดต่อแล้ว กลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อก็เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการ ทำให้คุณภาพของประชาชนลดลงและก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงโรคเส้นเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด อัมพาต โรคเบาหวานและโรคมะเร็ง เป็นต้น การค้นหาและการตรวจสุขภาพของประชาชนตามกลุ่มอายุ ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุเป็นภารกิจในการดําเนินงานสร้างหลักสุขภาพถ้วนหน้าที่มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดีสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพมากขึ้น โดยเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ โดยถือว่า สุขภาพเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน สําหรับการตรวจสุขภาพในกลุ่มอายุต่างๆ ได้แก่ วัยทํางาน วัยสูงอายุเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทํางาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียด ทั้งที่จากการสํารวจ และคาดประมาณจํานวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พบว่าประชาชนยังขาดความตระหนักในการดูแล รักษาโรค อสม.หมู่ที่ 10 บ้านท่าด่านจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หมู่ที่ 10 บ้านท่าด่าน ประจำปี 2568 ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม ครอบครัว ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืนและมุ่งหวังในการที่จะเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น เช่น การชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้ว

ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น เช่น การชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้ว

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนทั่วไปอายุ 35 ปีขึ้นไป 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/03/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆละ 1 มื้อๆละ 80บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 2 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  3. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 500 บาท
  4. ค่าวิทยากรบรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กรกฎาคม 2568 ถึง 24 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้ว

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้ว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 3 เครื่องๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กรกฎาคม 2568 ถึง 24 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้ว
  2. ประชาชนได้รับทราบข้อมูลด้านสุขภาพของตนเอง
  3. ประชาชนนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ร้อยละ 100
2. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้ว


>