กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

หมอหน้าบ้าน บริการถึงชุมชน : เทศบาลเมืองสตูล ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

ฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล

1. นางสาวกฤษณา ละอองสุวรรณ
2. นางสาวนิสากร บุญช่วย
3. นางสาวปารีดา หวันสู
4. นางซาฮีดา สะกานดา
5. นางสาวรัตนาเจ๊ะลี

พื้นที่ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสตูล จำนวน 20 ชุมชน ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนในชุมชนที่ได้รับการเยี่ยม

 

80.00
2 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

100.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

10.00
4 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

10.00

จากสถานการณ์ปัจจุบันที่พบว่าประชาชนยังเผชิญกับปัญหาสุขภาพทั้งโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ อีกทั้งบางพื้นที่ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล ได้จัดทำโครงการ “หมอหน้าบ้านบริการถึงชุมชน” เป็นแนวทางในการส่งเสริมบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้เป็นผู้ดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชนอย่างใกล้ชิด เสมือนเป็นหมอคนแรกของครัวเรือน โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสุขภาพระดับฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสุขภาพ และเน้นการสร้างสุขภาพ ป้องกันโรค และเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้บริการตรวจสุขภาพและส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชน

ประชาชนที่ได้รับบริการมีความพึงพอใจ ร้อยละ 80

100.00 1.00
2 ลดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง

ร้อยละของผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงเข้าถึงบริการสาธารณสุข

100.00 1.00
3 เสริมสร้างเครือข่ายอาสาสมัครและภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ในชุมชน ทั้ง อสม.และ Care giver

80

100.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 74
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 20
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการชมรม อสม. เทศบาลเมืองสตูล

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการชมรม อสม. เทศบาลเมืองสตูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดประชุมคณะกรรมการ ชมรม อสม. เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
(ไม่เบิกงบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมชี้แจง อสม.เพื่อแบ่งงานและเตรียมลงพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจง อสม.เพื่อแบ่งงานและเตรียมลงพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดประชุม อสม. ทั้ง 20 ชุมชนเพื่อวางแผน แบ่งงาน แบ่งโซนและลงพื้นที่ เดือนละ 1-2 ครั้ง (ไม่เบิกงบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-จำนวน อสม. ที่เข้าร่วมประชุม -จำนวนแผนการเยี่ยมในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ออกหน่วยบริการสุขภาพเชิงรุกทั้ง 20 ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ออกหน่วยบริการสุขภาพเชิงรุกทั้ง 20 ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกหน่วยบริการสุขภาพเชิงรุกทั้ง 20 ชุมชน เดือนละ 1-2 ครั้ง ให้บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น วัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ชั่งน้ำหนัก คัดกรองผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง กลุ่มเปราะบาง และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
-จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ดังนี้
1.เครื่องวัดความดันโลหิต แบบดิจิตอล เครื่องละ 2,000 บาท จำนวน 10 เครื่อง เป็นเงิน 20,000 บาท
2.เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลปลายนิ้ว เครื่องละ 2,650 จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 2,650 บาท
3.เข็มเจาะพร้อมแถบ ชุดละ 565 บาท จำนวน 10 ชุด เป็นเงิน 5,650 บาท
4.กระเป๋าพยาบาลแบบสะพาย ใบละ 1,200 บาท จำนวน 1 ใบ เป็นเงิน 1,200 บาท
-ลงเยี่ยมประชาชนถึงบ้าน ตามแผนการเยี่ยม ดังนี้ 1.อสม. ทุกชมชน เยี่ยมประชาชนถึงบ้านตามแผนการเยี่ยมร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 2.ให้บริการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ชั่งน้ำหนัก และคัดกรองโรคเรื้อรัง ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ และแนวทางป้องกันโรคบริการให้คำแนะนำด้านสุขภาพ
3.อสม.ให้คำแนะนำด้านสุขภาพแก่ประชาชน 4.อสม.ประสานและส่งต่อหน่วยบริการสาธารณสุขหากพบผู้ป่วย -การสรุปผลการเยี่ยม 1.บันทึกข้อมูลการเยี่ยม 2.สรุปผลการเยี่ยม

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-จำนวนประชาชนที่ได้รับการเยี่ยม -จำนวนผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่ได้รับการคัดกรองเข้าโครงการLTC -จำนวน อสม.ที่เข้าร่วมกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29500.00

กิจกรรมที่ 4 บริการรถรับส่งไปรพ./ไปตามนัด

ชื่อกิจกรรม
บริการรถรับส่งไปรพ./ไปตามนัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-หากพบผู้ป่วย(ผู้ป่วยลำบากหรือมีรายได้น้อย)ที่ต้องการความช่วยเหลือให้ประสานศูนย์ฟื้นฟูฯ เพื่อขอรับบริการรถรับ-ส่ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนผู้ป่วยที่ใช้บริการรถรับ-ส่งไปรพ.

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองสตูล มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงเข้าถึงบริการสาธารณสุข
2.มีภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพภาคประชาชนที่เข้มแข็ง


>