กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองสุขภาพเชิงรุกในประชาชน หมู่ที่ 7 บ้านป่าแก่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

อสม.หมู่ที่ 7 บ้านป่าแก่

1. นางมณฑา สุนทร
2. นางฉัตรมณี รักษศรี
3. นางอุบล พรหมแก้ว
4. นางเปรียว ขาวคง
5. นางจำเริญ วุ่นคง

ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านป่าแก่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่นําไปสู่ภาระที่มากขึ้นทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ส่งผลให้อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ความต้องการ มาตรการเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ให้ความสําคัญต่อการคัดกรอง ดูแลรักษา ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและฟื้นฟูสุขภาพ เชิงรุก ที่มีคุณภาพและครอบคลุมประชากรทั้งในระดับบุคคลและชุมชน และถือว่าเป็น "ภัยเงียบ" เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสําคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทย อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จําเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มี ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านป่าแก่ ดําเนินงานเน้นนโยบายเชิงรุก เร่งการป้องกันโรคโดยใช้เครือข่ายระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลทุ่งค่าย เพราะการดําเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ที่เกิดจาก
พฤติกรรมของประชาชนจะประสบความสําเร็จ มีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องยั่งยืน จําเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และใช้กระบวนการที่บูรณาการเชื่อมโยงการดําเนินงาน จากปัญหาดังกล่าว อสม. หมู่ที่ 7 บ้านป่าแก่ จึงได้จัดทําโครงการตรวจคัดกรองสุขภาพเชิงรุกในประชาชน หมู่ที่ 7 บ้านป่าแก่ ปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง พร้อมทั้งรณรงค์ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ มีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการการเกิดโรคเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเชิงรุกความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเชิงรุกความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 100

0.00
2 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนทั่วไป 70

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/03/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน คนละ 80 บาท รวมเป็นเงิน 5,600 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆละ 2 มื้อๆละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 4,200 บาท
  3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท
  4. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน รวมเป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กรกฎาคม 2568 ถึง 12 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้เรื่องการเฝ้าระวังควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13900.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้ว

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้ว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าเครื่องเจาะน้ำตาล จำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 4,000 บาท
  2. ค่าแถบตรวจวัดระดับน้ำตาล จำนวน 2 กล่อง กล่องละ 1,050 บาท รวมเป็นเงิน 2,100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กรกฎาคม 2568 ถึง 12 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  2. ประชาชนได้รับทราบข้อมูลด้านสุขภาพของตนเอง
  3. ประชาชนนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ร้อยละ 100
2. ประชาชนได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้ว


>