2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ในสภาวะปัจจุบันผู้คนมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมากมายไม่ว่าจะเกิดจากการทำงาน สภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ โรคที่พบในบุคคลทำงาน อาทิเช่น ออฟฟิตซินโดม เบาหวาน ความดันโลหิต การส่งเสริมการออกกำลังกายจึงเป็นวิธีในการลดการเกิดโรคต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว การเต้นแอโรบิคจึงเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนทุกรุ่นทุกกลุ่ม ซึ่งถ้าประชาชนได้ออกกำลังกายเป็นประจำทุกๆ วัน อย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถลดปัญหาดังกล่าวลงได้ จึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนในตำบลมูโนะมาออกกำลังกายกันมากขึ้น
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านมูโนะ จึงได้ตระหนักถึงการส่งเสริมสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการเต้นแอโรบิคขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน ให้ประชาชนได้รู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายที่มีผลทั้งต่อการมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ ด้วยการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และเป็นการสร้างความรักความสามัคคีในชุมชน และมีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างสุขภาพของชุมชนให้ยั่งยืน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. สามารถส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนด้วยการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอและเป็นการสร้างความรักความสามัคคีในชุมชน
2. สามารถเสริมสร้างให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างสุขภาพของชุมชน