กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียน RDU สร้างภูมิรู้สู่ชุมชนเขตตำบลมะนังยง ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยง

โรงเรียนบ้านชะเอาะ และโรงเรียนบ้านดาลอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อสุขภาพอนามัย ได้แก่ ยา , อาหาร , เครื่องสำอาง , วัตถุอันตราย , เครื่องมือแพทย์ และวัตถุยาเสพติด ปัจจุบันช่องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มีหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ออนไลน์ ซึ่งพบสารพัดปัญหาที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร โฆษณาเป็นยา รักษาสารพัดโรค , เครื่องสำอาง โฆษณาเป็นยาลดไขมัน เพิ่มขนาดทรวงอก ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อโฆษณาจนได้รับอันตรายจากสารห้ามใช้หรือยาที่ลักลอบใส่และก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมได้

เด็กวัยเรียน school age children คือเด็กช่วงวัยอายุ 6-12 ปี เรียนอยู่ในช่วงชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่อยู่ในยุคแห่งความเร่งรีบอย่างสังคมปัจจุบัน ที่เด็กวัยเรียน และคนรอบตัวเด็กมีสิ่งต่างๆ เช่น หนังสือ สื่อออนไลน์ โทรศัพท์ไร้สาย เกมออนไลน์ ทำให้เด็กเรียนรู้ข้อมูลทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องในเวลาเดียวกัน อันจะนำมาสู่การเชื่อและทดลองใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆที่ไม่ปลอดภัยได้ ดังนั้น การพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้องให้แก่เด็กกลุ่มนี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็กได้เปิดการเรียนรู้ มีภูมิรู้ด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง(Rational Drug Use) สามารถบอกต่อแก่คนในครอบครัวและชุมชน ทำให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัยได้ บริบทโรงเรียนยังมีห้องปฐมพยาบาลที่ยังขาดการติดตามมาตรฐานด้านต่างๆ โดยเฉพาะยาที่ใช้เพื่อบรรเทาเมื่อเด็กมีอาการเจ็บป่วย จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นจึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการวัยรุ่น วัยใส ใส่ใจ เท่าทัน ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (RDU school) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่เด็กนักเรียนในวัยนี้ และดูแลห้องปฐมพยาบาลในโรงเรียนให้ได้ตามมาตรฐาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่นักเรียน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่เด็กนักเรียนในชุมชน

ร้อยละ 100 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ เรื่องยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ

1.00 0.00
2 เพื่อค้นหาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาในห้องปฐมภูมิพยาบาล

ห้องปฐมพยาบาล ผ่านเกณฑ์มารตฐานที่กำหนด

1.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูอนามัยโรงเรียน 4
ครูและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงให้ความรู้ครูอนามัยโรงเรียนและครูผู้ดูแลเด็ก พร้อมพัฒนาห้องปฐมพยาบาลในโรงเรียนให้ได้ตามมาตรฐาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงให้ความรู้ครูอนามัยโรงเรียนและครูผู้ดูแลเด็ก พร้อมพัฒนาห้องปฐมพยาบาลในโรงเรียนให้ได้ตามมาตรฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 บาท x 1 มื้อ x 10 คน เป็นเงิน 250 บาท
  • โฟมบอร์ดสื่อให้ความรู้เรื่อง RDU ขนาด 1.2 ม. x 1 ม.(ตารางเมตรละ 650บาท) จำนวน 4 ป้าย แจกให้โรงเรียนละ 2 ป้าย เป็นเงิน 3,120 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ห้องปฐมพยาบาล ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3370.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัยแก่เด็กนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัยแก่เด็กนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรม - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 50 คนเป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 1 มื้อ x 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

วัสดุอบรม
- ปากกาเคมี (จำนวน 5 แท่งๆ แท่งละ 20 บาท) เป็นเงิน 100 บาท
- กระดาษโรตี (จำนวน 5 แผ่นๆ แผ่นละ 7 บาท) เป็นเงิน 35 บาท

วัสดุอบรมเพื่อการสาธิต - ค่าชุดทดสอบไฮโรควิโนน 1 ชุดๆละ 500 บาทเป็นเงิน 500 บาท
- ค่าชุดทดสอบสเตียรอยด์ 1 ชุดๆละ 1,300 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท
- ค่าชุดทดสอบไซบูทรามีน 1 ชุดๆละ 500 บาทเป็นเงิน 500 บาท
- ค่าชุดทดสอบกรดซาลิซิลิค 1 ชุดๆละ 200 บาทเป็นเงิน 200 บาท
- ค่าชุดทดสอบสารบอแรกซ์ 1 ชุดๆละ 260 บาทเป็นเงิน 260 บาท
- ค่าชุดทดสอบสารฟอร์มาลีน 1 ชุดๆละ 70 บาทเป็นเงิน 70 บาท
- ค่าชุดทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ 1 ชุดๆละ 260 บาทเป็นเงิน 260 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการใช้ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย พร้อมทั้งสามารถกระจายความรู้ให้กับครอบครัวและชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10625.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 สิงหาคม 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการดำเนินงานหลังดำเนินโครงการประจำปี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,995.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการใช้ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย พร้อมทั้งสามารถกระจายความรู้ให้กับครอบครัวและชุมชนได้
2. ห้องปฐมพยาบาลได้รับการพัฒนา ที่มีมาตรฐาน


>