2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย(การเข้าสุนัต หรือ คีตาล)คือ การทำความสะอาดร่างกายที่ต้องตัดแต่งเพื่อขจัดความสกปรกและเหตุผลทางการแพทย์เกี่ยวกับเรื่องนี้ท่านนบีมูฮำหมัดศ็อลฯ ได้ให้โอวาทไว้ดังนี้ธรรมชาติ 5 สิ่ง(ในร่างกายมนุษย์) ที่ต้องได้รับการตกแต่ง คือการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศขจัดขนใน ร่มผ้า ติดเล็บและการตกแต่งหนวดเคราการตัดหนังหุ้มปลายอวยวะสืบพันธ์ของชาย เพื่อความสะอาดเป็นสำคัญ จากงานวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV ได้ร้อยละ50-60เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegma หรือขี้เปียกหากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้จะทำให้สารดังกล่าวคั่งอยู่ภายในซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมเกิดมะเร็งที่องคชาติได้ (นพ.อนุพงศ์ชิตวรากร)นอกจากนี้การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์เช่น ซิฟิลิสแผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติและถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วยผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วยจากบริบทพื้นที่ ตำบลนาทอน มีทั้งหมด9 หมู่บ้านมีมุสลิมประมาณ 90% ของพื้นที่ พบว่า การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย หรือ “คีตาล(ภาษาอาหรับ)หรือ “ทำสุนัต”(ภาษามลายู)ในอดีตมักทำกับหมอบ้าน หรือ “โต๊ะมูเด็ง” จากความเชื่อและประเพณีของชุมชนโดยผู้ปกครองเด็กเชื่อว่า “การทำกับแพทย์จะทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งแรง” “การทำกับโต๊ะมูเด็งเป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนแก่เคยทำกัน”เป็นต้นซึ่งที่ผ่านมาพบว่าการทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก(bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อคหรือการติดเชื้อเช่น ติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องมือร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธีดังนั้นชมรมอิหม่ามตำบลนาทอนได้เล็งเห็นความสำคัญชองการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือสุนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชนชายในพื้นที่โดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายแบบปราศจากเชื้อ เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมชายได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพยิ่งขึ้นจึงได้จัดทำ “โครงการพิธีเข้าสุนัต สำหรับยุวชนมุสลิมชายประจำปี2568”
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2025
กำหนดเสร็จ 14/05/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
๑. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการขนาดกว้าง1 เมตร ยาว 3.5 เมตร เป็นเงิน 500.- บาท
๒. จ้างเหมาบริการทางการแพทย์ในการทำสุนัตหรือ คีตาลสำหรับยุวชนมุสลิมชาย พร้อมยาสำหรับดูแลแผลหลังการผ่าตัดจนวน20 คนๆละ1,600 บาทเป็นเงิน32,000.- บาท
๓. ค่าอาหารกลางวันจำนวน48คนๆ ละ50 บาทจำนวน1มื้อ เป็นเงิน2,400.- บาท
๔. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน48 คนๆละ 25 บาทต่อมื้อ จำนวน2มื้อเป็นเงิน2,400.- บาท
๕. ค่าผ้าขาวม้าขนาดกว้าง90 ซม.ยาว130 ซม. จำนวน20ผืนๆละ90 บาท เป็นเงิน1,800.- บาท
๖. ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยายจำนวน5 ชั่วโมงๆละ300.- บาทเป็นเงิน1,500.- บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น40,600.- บาท(-สี่หมื่นหกร้อยบาทถ้วน)
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.เด็กและเยาวชนมุสลิมได้รับการทำสุนัต หรือคีตาล(ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย)สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด ภาวะแทรกซ้อน(การอักเสบรุนแรง)และการติดเชื้อ
2.ผู้ปกครอง และชุมชนมีความตระหนักแก่ในการการป้องกันโรคติดเชื้อและโรคติดต่อ