กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารพิษในโรงเรียนบ้านโคกงู ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

โรงเรียนบ้านโคกงู

โรงเรียนบ้านโคกงู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันการบริโภคผักที่มีสารเคมีตกค้างเป็นปัญหาต่อสุขภาพของนักเรียนและชุมชน โรงเรียนบ้านโคกงูจึงมีแนวคิดในการจัดทำโครงการส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารพิษในโรงเรียนบ้านโคกงู ปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านการบริโภคผักปลอดสารพิษ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักเพิ่มมากขึ้น สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงสามารถพัฒนาเป็นแหล่งอาหารของโรงเรียนและชุมชนได้ในอนาคต

การปลูกผักปลอดสารพิษยังเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ฝึกฝนทักษะการดูแลสุขภาพตนเองโดยการปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเอง แทนการบริโภคผักจากท้องตลาดที่อาจจะปนเปื้อนสารเคมี และมีความเข้าใจในการรับประทานผักเป็นยา การดูแลสุขภาพตามหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ นอกจากนี้ โครงการนี้ยังช่วยเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะครู นักเรียน และผู้ปกครองที่เข้ามามีส่วนร่วม และตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติตนเรื่องการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม

อีกทั้งโครงการส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารพิษในโรงเรียนบ้านโคกงู ปีงบประมาณ 2568 ยังปลูกฝังแนวคิดเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารและความสำคัญของการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยตั้งแต่วัยเยาว์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้การบริโภคผักปลอดสารพิษ การดูแลสุขภาพตามหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ การปลูกผักอินทรีย์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ “กินอย่างไรให้ลดเสี่ยง ลดโรค”

ร้อยละนักเรียนมีความรู้การบริโภคผักปลอดสารพิษ การดูแลสุขภาพตามหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ การปลูกผักอินทรีย์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

ร้อยละนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 44
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้กับนักเรียนเกี่ยวกับการบริโภคผักปลอดสารพิษ การรับประทานผักเป็นยา การดูแลสุขภาพตามหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ การปลูกผักอินทรีย์

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้กับนักเรียนเกี่ยวกับการบริโภคผักปลอดสารพิษ การรับประทานผักเป็นยา การดูแลสุขภาพตามหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ การปลูกผักอินทรีย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคผัก การบริโภคผักปลอดสารพิษ การรับประทานผักเป็นยา การดูแลสุขภาพตามหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ การปลูกผักอินทรีย์ไว้รับประทานเอง ให้กับนักเรียน จำนวน 44 คน ค่าใช้จ่ายดังนี้ - จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1.2x2.4 ม. เป็นเงิน 570 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 44 คนๆ ละ 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,640 บาท - ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริโภคผักปลอดสารพิษ การดูแลสุขภาพตามหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ การปลูกผักอินทรีย์ไว้รับประทานเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6210.00

กิจกรรมที่ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปลูกผักอินทรีย์ไว้รับประทานเอง

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปลูกผักอินทรีย์ไว้รับประทานเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อพันธ์ุผักและวัสดุอุปกรณ์ในการปลูกผักปลอดสารพิษ รายละเอียดดังนี้ - ดินอินทรีย์ 10 ถุงๆละ 35 บาท รวม 350 บาท - ขุยมะพร้าว 2 กระสอบๆ ละ 70 บาท รวม 140 บาท - เมล็ดพันธุ์ผักคะน้า 2 กระป๋องๆ ละ 140 บาท รวม 280 บาท - เมล็ดพันธุ์ผักบุ้ง 2 ห่อๆ ละ 190 บาท รวม 380 บาท - เมล็ดพันธุ์ผักกว้างตุ้ง 2 กระป๋องๆ ละ 140 บาท รวม 280 บาท - เมล็ดข้าวโพด 5 ถุงๆ ละ 97 บาท รวม 485 บาท - เห็ดนางฟ้า 85 ก้อนๆ ละ 15 บาท รวม 1,275 บาท - ส้อมพรวน 10 อันๆ ละ 22 บาท รวม 220 บาท - ช้อนปลูก 10 อันๆ ละ 22 บาท รวม 220 บาท - จอบด้ามเหล็ก 5 ด้ามๆละ 190 บาท รวม 950 บาท - บัวรดน้ำ 5 ตัวๆ ละ 70 บาท รวม 350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4930.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,140.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้การบริโภคผักปลอดสารพิษ การดูแลสุขภาพตามหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ การปลูกผักอินทรีย์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
2. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย


>