กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดหวาน นับคาร์บ ป้องกันโรค NCDs

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านพะเนียด

1.นางปรีดา หัสเอียด
2.นางซูจีนา หัสเอียด
3.นางฮาลิเม๊าะ เด็นสว่าง
4.นางมูรินา หวังเก็ม
5.นางสุนิสา พุทธพิม

หมู่ที่ 1 - 5 ตำบลแค

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

35.25
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

40.25
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

27.32
4 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

25.24

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

35.25 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

40.25 25.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

27.32 15.00
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

25.24 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/01/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน ที่ปรึกษา

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน ที่ปรึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานและที่ปรึกษา เพื่อคัดเลือกกลุ่มเสี่ยงและแกนนำที่เข้าร่วมโครงการ โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน คนละ 30 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สามารถกำหนดแผนการดำเนินงานโครงการได้ 2.สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมประเมินพฤติกรรมเสี่ยง ให้ความรู้การปรับสูตรอาหาร ลดหวาน ลดเค็ม

ชื่อกิจกรรม
อบรมประเมินพฤติกรรมเสี่ยง ให้ความรู้การปรับสูตรอาหาร ลดหวาน ลดเค็ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมประเมินพฤติกรรมเสี่ยง ให้ความรู้การปรับสูตรอาหาร ลดหวาน ลดเค็ม การทดแทนอาหารสำหรับกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 2.ค่าวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับสูตรอาหาร ลดหวาน ลดเค็ม การทดแทนอาหารสำหรับกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2700.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมกลุ่มเสี่ยงการคำนวณคาร์บและประกวดเมนูสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมกลุ่มเสี่ยงการคำนวณคาร์บและประกวดเมนูสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมกลุ่มเสี่ยงการคำนวณคาร์บและประกวดเมนูสุขภาพ โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 ชุด ชุดละ 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 3.ค่าวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 3,500 บาท 5.ค่าเครื่องวัดความหวาน จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 2,500 บาท 6.ค่าเครื่องวัดความเค็ม จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 2,500 บาท 7.ค่าป้ายและสื่อ เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถคำนวณคาร์บในอาหารแต่ละมื้อได้ 2.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถประกอบเมนูอาหารสุขภาพได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคาร์บและสามารถปรุงอาหารโดยลดปัจจัยเสี่ยงได้
2.ผู้เข้าร่วมมีสุขภาพที่ดีขึ้นหลังเข้าร่วมโครงการ


>