แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งค่าย
นางสาวอัญชลีดิเส็ม ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งค่าย
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะของโรค ปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเกิดโรคจำนวนมากขึ้นทุกปี โรคไข้เลือดออกระบาดในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ จานรองขาตู้กับข้าว เป็นต้น ปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ในปี 2567 ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมจำนวน 105,250 ราย กระจายในทุกจังหวัด จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ ภูเก็ต เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน และพัทลุง สํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 13,635 ราย อัตราป่วย 275 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 11 ราย (จังหวัดยะลา 4 ราย จังหวัดสงขลา 3 ราย ปัตตานี 2 ราย นราธิวาส 1 ราย และพัทลุง 1 ราย) อัตราตาย 0.2 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.08 จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคือจังหวัดพัทลุง อัตราป่วยเท่ากับ404.3 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือจังหวัด ปัตตานี(319.1), สงขลา(300), ยะลา(286.2), นราธิวาส(246.6), ตรัง(195.6) และสตูล(65.1) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งค่าย พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 25 ราย อัตราป่วย 733.33 ต่อประชากรแสนคน ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยในหมู่ 1, 4, 10, 2 และ 7 ตามลำดับ
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งค่ายจึงจัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2568 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายที่ถูกวิธีและเหมาะสมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก ในชุมชน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 01/03/2025
กำหนดเสร็จ : 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ร้อยละ 80
2. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม ร้อยละ 90
3. ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง ร้อยละ 80