กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

1. นางกัลยา อินทรอาสา
2. นางอัจฉรา พูนภักดี
3. นางสาวขนิฐา หนูเมียน
4. นางสาวอุบลรัตนา แสงสว่าง
5. นางสาวสุดารัตน์ ศัยวะเดช

เทศบาลตำบลท่ามะดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

 

3,975.00
2 จำนวนครัวเรือน

 

1,939.00

สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเด็กปฐมในศุนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี ที่จะอาศัยในศุนย์เด็กเล็กน่าอยู่ได้อย่างเท่าเทียมกันและอยู่ร่วมกันกับครูผู้ดูแลเด็กและเพื่อนๆ อย่างสงบสุข มีความสะดวกสบาย สะอาด ถูกสุขอนามัย มีความปลอดภัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและความคิดสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการจัดการควบคุมส่งเสริม สนับสนุนปัจจัยเอื้อ และขจัดหรือลดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความน่าอยู่ของศูนย์เด็กเล็ก โดยมุ่งหวังให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ ทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ และครูผู้ดูแลเด็กได้รับการส่งเสริมให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสุขกาย สบายใจ รวมทั้งเรื่องอาหารและโภชนาการก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุฯ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิตเป็นวัยรากฐานของการพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะในระยะ 2 ปีแรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองได้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นที่จะต้องได้รับการเลี้ยงดูที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านอาหารและภาวะโภชนาการที่ดีที่สุดซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ซึ่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ มีเด็กจำนวน 30 คน จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงผลกระทบที่ตามมากับตัวเดฌกเองในอนาคตข้างหน้า ซึ่งครู ผู้ ปกครอง และชุมชนมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรม สุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพของตนเอง และดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและทำได้ถูกต้องเมื่อเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ครูผู้ดูแลเด็กได้รับการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านต่างๆ เพื่อที่จะให้สามารถดูแลเด็กได้ดียิ่งขึ้น ผู้ปกครองเข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรมโดยที่สนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างต่อเนื่อง ระหว่างบ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรในท้องถิ่น ทำให้เกิดการร่วมมือร่วมใจกัน ดังนั้น เพื่อสร้างเสริมสุขภาพเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
จากปัญหาดังกล่าว ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ จึงเล็งเห็นความสำคัญและได้จัดทำโครงการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้นเพื่อที่จะได้ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ครูผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึงความสำคัญในเรื่องของโภชนาการและสุขภาพอนามัย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องได้รับความร่วมมือกันหลายฝ่าย เช่น ครู ผู้ปกครองเด็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมถึงหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลส่งเสริมให้สุขภาพแข็งแรงและสามารถนำไปพัฒนาเด็กอายุ 2 - 3 ปี ได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองและครูตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติกับเด็กได้อย่างถูกต้อง

35.00
2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในด้านการดูแลป้องกันปัญหาด้านสุขภาพในเด็กปฐมวัย 2 - 3 ปี

ร้อยละ 95 ของผู้ปกครอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลป้องกันปัญหาสุขภาพในวัยเด็กได้อย่างเหมาะสม

35.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กและบุคลากร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กและบุคลากร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 ท่าน 3 ชม ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 x 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป้นเงิน 540 บาท
  • ค่าอาหารและเครื่องดื่ม (สำหรับผู้ปกครอง) จำนวน 35 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 875 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กและบุคลากรมีความรู้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3215.00

กิจกรรมที่ 2 ออกกำลังกายด้วยจักรยานขาไถ (Balance Bike) ส่งเสริมพัฒนาการ

ชื่อกิจกรรม
ออกกำลังกายด้วยจักรยานขาไถ (Balance Bike) ส่งเสริมพัฒนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่ารถจักรยานขาไถพร้อมอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย จำนวน 7 ชิ้น ประกอบด้วย ( หมวก 1 ชิ้น สนับมือ 2 ชิ้น สนับเข่า 2 ชิ้น ปลอกเข่า 2 ชิ้น ) จำนวน 5 ชุด ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ส่งเสริมพัฒนาการออกกำลังกายด้วยจักรยานขาไถ (Balance Bike)
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,215.00 บาท

หมายเหตุ :
- งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพในเด็กปฐมวัย 2 - 3 ปี
2. ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้มีส่วนร่วมในการดูแลและป้องกันปัญหาด้านสุขภาพในเด็กปฐมวัย 2 - 3 ปี
3. เกิดความสัมพันธ์ความอบอุ่นในครอบครัว ระหว่างผู้ปกครองและเด็กวัย 2 - 3 ปี ในการดูแลรักษาสุขภาพ


>