กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการการควบคุมและป้องกันปัญหาภาวะโภชนาการและออกกำลังกายโดยใช้กิจกรรมเต้นแอโรบิคในเด็กนักเรียนของโรงเรียนวัดรัตนวราราม

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการควบคุมและป้องกันปัญหาภาวะโภชนาการและออกกำลังกายโดยใช้กิจกรรมเต้นแอโรบิคในเด็กนักเรียนของโรงเรียนวัดรัตนวราราม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

โรงเรียนวัดรัตนวราราม

นายบรรจง เครือทอง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดรัตนวราราม

เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

 

3,975.00
2 จำนวนครัวเรือน

 

1,939.00

การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชนจึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งสังคม มีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดี สามารถดำรงงชีวิตยู่ในสังคมได้อย่างมีคความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้ว การส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียนเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยแก่นักเรียน การให้บริการด้านสุขภาพอนามัย การให้ความรู้ด้านสุขภาพช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย ซึ่งปัจจุบันการออกกำลังกายเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นเครื่องมือในการนำไปสู่สุขภาพแข็งแรง สุขภาพจิตดี ส่งผลให้คุณภาพชีวิตที่ดีปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ ทางโรงเรียนวัดรัตนวรารามจึงจัดกิจกรรมการอบรมให้ความรู้เรื่องการควบคุมและป้องกันปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน และกิจกรรมการเต้นแอโรบิค ซึ่งการออกกำลังกายแบบกิจกรรมเต้นแอโรบิค เป็นการออกกำลังกายที่สร้างความสนุกสนาน เพลิดเพลิน แต่ให้ผลที่คุ้มค่าต่อสุขภาพอย่างยิ่ง ซึ่งโรงเรียนวัดรัตนวรารามตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการ การควบคุมและป้องกันปัญหาภาวะโภชนาการและการออกกำลังกายโดยกิจกรรมการเต้นแอโรบิค ในเด็กนักเรียนของโรงเรียนวัดรัตนวรารามขึ้น เพื่อเป็นการให้ความรู้ในการควบคุมและป้องกันปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียนและสร้างเสริมสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่ดีของนักเรียนและส่งเสริมให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนาและสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการให้ความรู้ในการควบคุมและป้องกันปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียนและสร้างเสริมสุขภาพร่างกายแลสุขภาพจิตที่ดีของนักเรียน

นักเรียนร้อยละ 80 มีความรู้ในการควบคุมและป้องกันปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียนและมีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่ดี

180.00
2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย

นักเรียนร้อยละ 80 มีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย

180.00
3 เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา

นักเรียนร้อยละ 80 มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา

180.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 165
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ เรื่องการควบคุมและป้องกันปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เรื่องการควบคุมและป้องกันปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสมนาคุณวิทยากรในการอบรมให้ความรู้ จำนวน 1 คน ใช้เวลาจำนวน 3 ชม. ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 180 คนๆละ 1 มื้อๆละ 15 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท
  • ค่าไวนิลป้ายโครงการ 1 แผ่น ขนาด 1 x 2 เมตร ตร.ม.ละ 180 บาท เป็นเงิน 360 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็กนักเรียนมีความรู้ เรื่องการควบคุมและป้องกันปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4860.00

กิจกรรมที่ 2 การออกกำลังกายด้วยกิจกรรมการเต้นแอโรบิค

ชื่อกิจกรรม
การออกกำลังกายด้วยกิจกรรมการเต้นแอโรบิค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเครื่องขยายเสียง (ลำโพงเคลื่อนที่ล้อลากพร้อมไมค์ลอยไร้สาย) จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 9600 บาท
  • ค่าปลั๊กไฟต่อพ่วง 10 เมตร เป็นเงิน 650 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็กนักเรียนมีการออกกำลังกายด้วยกิจกรรมการเต้นแอโรบิค
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,110.00 บาท

หมายเหตุ :
- งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนได้รับความรู้ในการควบคุมและป้องกันปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียนและสามารถดูแลตัวเองให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
2. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา
3. นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการออกกำลังกาย ส่งผลให้มีสุขภาพพลานามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


>