2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
จากสภาพปัญหาสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น สัดส่วนของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพิ่มมากขึ้น แบบแผนการเจ็บป่วยของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง โรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จนอาจจะทำให้เกิดความพิการรุนแรงได้ส่งผลให้เกิดปัญหาและเป็นภาระของครอบครัวและชุมชน
ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลตำบลเทพา ได้เล็งเห็นความสำคัญจากผลกระทบของปัญหานี้ จึงได้จัดทำโครงการเยี่ยมเสริมพลังผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ผู้ป่วยและผู้พิการ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมบนพื้นฐานการพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนขึ้นโดยมีเป้าหมายที่จะติดตามดูแลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคดำเนินการแก้ไขปัญหากลุ่มเยี่ยมเสริมพลังผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและ ผู้พิการในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเทพา
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/02/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง สามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยได้
2. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง มีความรู้ในการทำกายภาพบำบัดและการดูแลตนเองมากขึ้น
3. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง มีความรู้ในการทำกายภาพบำบัด และมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้านอย่างถูกวิธี
4. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการลงเยี่ยมและการดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
5. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการส่งเสริมป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งร่างกายและจิตใจ
6. เกิดการระดมความคิดเห็นและเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาของทุกภาคส่วน ในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ต่อไป