กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เยี่ยมบ้าน เยี่ยมใจ ผู้สูงวัยติดบ้านติดเตียง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่างิ้ว

1 นางพัชรีสีสุข /ประธานฯ
2 นายเกรียงศักดิ์ดีกล่อม/รองประธานฯ
3 นางชาลีส่งแสง /กรรมการ
4 นางปัญญาคงฤทธิ์/กรรมการ
5 น.ส.บุญญาภรณ์คงฤทธิ์/เลขานุการ

ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลและเยี่ยมบ้าน

 

1.00

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว โดยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเกินกว่าร้อยละ 10 ตั้งแต่ปี 2564 และคาดว่าในปี 2578 จะมีผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งประเทศ ทั้งนี้พบว่าผู้สูงอายุโดยเฉพาะกลุ่มติดบ้านและติดเตียง กำลังเผชิญปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะสมองเสื่อม และการหกล้ม ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียปีสุขภาวะและทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุจำนวนมาก การวิเคราะห์คาดประมาณจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงใน 20 ปีข้างหน้า
ในภาพรวมของประเทศจำแนกตามเพศและกลุ่มอายุ มาจากการใช้ค่าคาดประมาณความชุกของการมีภาวะพึ่งพิงจำแนกตามเพศและกลุ่มอายุ (ที่ได้จากค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของสมการพหุคูณของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีภาวะพึ่งพิงแต่ละตัวมาสร้างสมการพยากรณ์การมีภาวะพึ่งพิงในผู้สูงอายุ) นำมาคูณกับค่าคาดประมาณจำนวนประชากร (Population projection) จนถึงปี 2583 ที่คาดการณ์โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีแนวโน้มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้น

พื้นที่ตำบลท่างิ้ว ก็ไม่ต่องกับสถานการณ์ในระดับประเทศ ตำบลท่างิ้วเป็นพื้นที่ที่มีประชากรรวม 4,979 คน มีกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 940 คน คิดเป็นร้อยละ 18.88 ของประชากรทั้งตำบล (ข้อมูล : รายงานสถิติประชากร เดือนมกราคม 2568 สำนักทะเบียนอำเภอห้วยยอด) และจากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลท่างิ้ว พบว่ามีผู้สูงอายุติดบ้าน และผู้สูงอายุติดเตียง ทั้งสิ้น 28 ราย มีภาวะสุขภาพที่ทรุดโทรมลงตามวัย และมีแนวโน้มการเกิดโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น ซึ่งควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษทั้งร่างกายและจิตใจ

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่างิ้ว ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการ “เยี่ยมบ้าน เยี่ยมใจ ผู้สูงวัยติดบ้านติดเตียง” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ตัวแทนผู้สูงอายุที่มีจิตอาสา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกวิธี รู้จักวิธีพูดคุยให้กำลังใจ และการปล่อยวาง ตลอดจนให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงได้รับการเยี่ยมบ้านสร้างกำลังใจให้แก่กันและกัน เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการดูแลผุ้สูงอายุในพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1. เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ตัวแทนผู้สูงอายุติดสังคม(ที่มีจิตอาสา) เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกวิธี
ข้อที่ 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการเยี่ยมบ้าน สร้างกำลังใจให้แก่กันและกัน
ข้อที่ 3. เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 27/05/2025

กำหนดเสร็จ : 29/05/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ ในหัวข้อ

  • อบรมให้ความรู้ หัวข้อ “การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง อย่างถูกวิธี”

  • อบรมให้ความรู้ หัวข้อ “กำลังใจสำคัญไฉน สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง”

  • อบรมให้ความรู้ หัวข้อ “หลักการปล่อยวางความทุกข์ในชีวิตตามหลัก พุทธวจน”

  • อบรมให้ความรู้ หัวข้อ “หลักการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง”


    ** เบิกค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ :

  • ค่าป้ายโครงการ= 500 บ.

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม = 1,500 บ.(จำนวน 30 คน ๆ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ)

  • ค่าอาหาร= 2,400 บ.(จำนวน 30 คน ๆละ 80 บาท x 1 มื้อ )

  • ค่าตอบแทนวิทยากร = 3,600 บ.(จำนวน 6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท)

  • ค่าวัสดุที่ใช้ในการอบรม= 2,400 บ. (จำนวน 30 ชุดๆ ละ 80 บาท) (ได้แก่ กระเป๋าสำหรับใส่เอกสารอบรมและลงพื้นที่,สมุดโน๊ต,ปากกา เป็นต้น)

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤษภาคม 2568 ถึง 27 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง เพิ่มขึ้นร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ผู้เข้าอบรมลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง จำนวน 28 ราย ตามตารางการลงพื้นที่ เป็นระยะเวลา 2 วัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.30 น.
  • ทำแบบประเมินการเยี่ยมบ้าน
  • สรุปกิจกรรม

** เบิกค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ :

  • เบิกค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆละ 80 บาท จำนวน 2 มื้อ) เป็นเงิน4,800 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆละ 25 บาท จำนวน 4 มื้อ เป็นเงิน3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2568 ถึง 29 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,200.00 บาท

หมายเหตุ :
รายจ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีองค์ความรู้ในการดูแลตนเอง ดูแลผู้อื่น มีศักยภาพ
2. ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการเยี่ยมบ้าน และมีกำลังใจในการเผชิญกับสภาวะที่ประสบอยู่
3. เกิดการมีส่วนร่วมหลายภาคส่วนในชุมชนในการให้ความสำคัญกับการส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
4. ขยายฐานกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม ที่มีจิตอาสาเพิ่มมากขึ้น


>